พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่

C360_2013-10-09-13-48-54-479

จำได้ว่าครั้งแรกกะจะมาเที่ยวที่นี้ ผมมาผิดวันครับ ซึ่งไอ้ที่จริงจะบอกว่ามาแบบไม่เตรียมพร้อมในข้อมูลก็น่าจะถูก เพราะตัวเองเสือกมาในวันที่มันดันปิด

มาวันจันทร์แล้ว ชาวบ้านที่ไหน เขาจะมาเปิดล่ะครับ

อนึ่ง ทำความเข้าใจกันซักนิด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เขาจะเปิดให้บริการกันในวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่ 09.00 – 16.00 น. นั้นหมายความว่า ถ้าสะเออะไปวันจันทร์ วันอังคาร หรือวันนักขัตฤกษ์ พิพิธภัณฑ์ก็จะเงียบเป็นป่าช้า เหมือนๆ ที่ผมเจอมาแล้ว

C360_2013-10-09-13-50-29-686

จากสี่แยกรินคำมาตามถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ (เชียงใหม่ – ลำปาง) เลยวัดเจ็ดยอด มาซักหน่อย ทางด้านซ้ายมือ คือตำแหน่งที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่

C360_2013-10-09-14-30-43-953

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เป็นพิพิธภัณฑสถานในระดับภาคที่กรมศิลปากรจัดตั้งขึ้นครับ จุดประสงค์ก็เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา การอนุรักษ์ และการให้บริการข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ และของภาคเหนือตอนบน

ภายในพิพิธภัณฑ์ ก็จะมีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเมืองเชียงใหม่ ในฐานะเมืองหลวงแห่งล้านนา ตั้งแต่ประวัติอาณาจักรล้านนา สภาพทางธรณีวิทยา และชีวิตดึกดำบรรพ์ ภูมิประเทศ และสภาพแวดล้อมของภาคเหนือ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ และชาวลัวะชนเผ่าดั้งเดิมของภาคเหนือ

C360_2013-10-09-14-07-26-782

นอกจากนี้ ยังจัดแสดงการกอบกู้เอกราชจากพม่า และความสัมพันธ์กับอาณาจักรสยาม ด้านเศรษฐกิจการค้า ระยะแรกระหว่าง พ.ศ.2399 – 2463 และระหว่าง พ.ศ.2467 – 2482 เมื่อรถไฟมาถึง รวมถึงเรื่องการดำรงชีวิต และพัฒนาการทางสังคม เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม ความสัมพันธ์กับต่างชาติ วิวัตนาการของศิลปกรรมล้านนา และศิลปะในประเทศไทยเป็นต้น

C360_2013-10-09-14-12-47-243

โดยการจัดแสดงภายใน จะถูกแบ่งออกเป็น 6 ส่วนด้วยกัน แต่ในช่วงที่ผมไปชม เนื่องจากทางพิพิธภัณฑ์ กำลังทำการปรับปรุงส่วนจัดการแสดงใหม่ เรียกว่าเกือบจะยกชุด ฉะนั้น ภาพที่เอามาฝากเลยจะมีกันแค่ชั้นล่างเพียงอย่างเดียว ส่วนชั้นบนที่มีห้องจัดแสดง 3 ส่วน ถูกปิดปรับปรุงไป

C360_2013-10-09-14-00-52-481

มากันที่ส่วนจัดแสดงที่ 1 ห้องนี้จะแสดงภูมิหลังแผ่นดินล้านนาเป็นเรื่องราวทางธรณีวิทยาและชีวิตดึกดำบรรพ์ ภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมภาคเหนือ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ รวมไปถึงเรื่องราวของชนเผ่าลัวะ และหริภุญไชย รัฐแรกในภาคเหนือ

C360_2013-10-09-14-03-00-547

C360_2013-10-09-14-04-20-016

C360_2013-10-09-14-07-08-226

C360_2013-10-09-14-08-39-388

ส่วนจัดแสดงที่ 2 แสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรล้านนา เริ่มจากการสถาปนานครเชียงใหม่ ความรุ่งเรืองและความเสื่อมของราชอาณาจักร

C360_2013-10-09-14-09-37-047

C360_2013-10-09-14-10-13-701

C360_2013-10-09-14-11-26-069

ส่วนจัดแสดงที่ 3 แสดงเรื่องราวของนครเชียงใหม่ ใต้ร่มอาณาจักรสยามตั้งแต่การกอบกู้เอกราชจากพม่า การตั้งเมืองเชียงใหม่เมื่อพุทธศักราช ๒๓๓๙ และความสัมพันธ์กับอาณาจักรสยาม

C360_2013-10-09-14-19-00-121

C360_2013-10-09-14-18-33-643

นั่นคือ 3 ส่วนของชั้นล่าง ส่วนชั้นบนก็จะมีกัน 3 ส่วนดังต่อไปนี้

ส่วนจัดแสดงที่ 4 แสดงเรื่องการค้าและเศรษฐกิจระยะแรก ระหว่างพุทธศักราช 2339 – 2463 และระยะที่สอง ระหว่างพุทธศักราช 2467 – 2482 เมื่อมีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายเหนือ

ส่วนจัดแสดงที่ 5 แสดงเรื่องราวการดำรงชีวิตและพัฒนาการทางสังคม เช่นการเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม การเงินการธนาคาร ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ รวมถึงการศึกษาและการสาธารณะสุข

ส่วนจัดแสดงที่ 6 แสดงถึงวิวัฒนาการของศิลปกรรมล้านนา และศิลปกรรมในประเทศไทย

C360_2013-10-09-14-21-01-647

C360_2013-10-09-14-25-24-515

นอกจากการจัดแสดงทั่วไปแบบตายตัวของส่วนจัดการแสดงทั้ง 6 แล้ว ที่นี้ยังมีนิทรรศการหมุนเวียนมาจัดกันไว้ให้ดูแก้เลี่ยนในชั้นล่าง ใครสนใจลองแวะย่างก้าวเข้าไปชมเอาทางฝั่งซ้ายมือของชั้นล่างจากปากประตูทางเข้า

ส่งท้ายด้วยข่าวสารที่อยากจะบอก ในไม่ช้านี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จะทำการปิดปรับปรุงใหม่ ในส่วนของการจัดแสดงทั้งหมด ก่อนจะเปิดเต็มรูปแบบอีกทีคือปี 2557 ฉะนั้น ใครยังไม่มีโอกาสไปดู ก็ให้ไวกันเลยในช่วงนี้ เพราะหลังจากนั้นไป คาดว่าคงอีกยาวเลยกว่าจะเปิด หรือถ้าหากใครอยากจัดเต็มในรูปแบบโฉมใหม่ อันนี้ก็นับนิ้วรอไปได้เลย 1 ปี

จะจิ้มไปช้อยส์ที่ 1 หรือ ช้อยส์ที่ 2 ยังไงก็ลองตัดสินใจดู…