วัดทรายมูล (พม่า)

C360_2013-10-13-14-14-03-707

เป็นความประทับใจส่วนตัวตั้งแต่ไปวัดป่าเป้ามาแล้วครับ ตอนที่ตัวเองไปเจอวัยรุ่นและเด็กๆ ที่ไม่มีโอกาสทางการศึกษามาเล่าเรียนในวัด

บรรยากาศตอนเย็นๆ เห็นหลายคนใส่ชุดนักศึกษามาเรียน คาดคะเนด้วยสายตา น่าจะอายุ18-19 ปี กันอยู่ โดยเด็กๆ เหล่านั้นน่าจะเป็นแรงงานด้าว หรือเด็กที่ไร้สัญชาติ ที่ไม่มีโอกาสทางการศึกษา แล้วมีโอกาสได้มาเรียน ณ ศูนย์การเรียนรู้วัดป่าเป้าแห่งนี้

ในฐานะมนุษย์ร่วมโลกคนนึง ผมดีใจที่เห็นเด็กๆ เหล่านั้นจะมีความรู้เอาไปใช้ในชีวิต ยิ่งผมเคยเป็นเด็กบ้านนอกมาก่อนแล้ว ขอบอกเลยว่า โอกาสทางการศึกษา คือสิ่งจำเป็นสำหรับพวกเขา

มีความรู้ ก็เหมือนทหารมีอาวุธเอาไว้ต่อสู้กับข้าศึก หากไม่มีอาวุธ โอกาสพ่ายแพ้ก็ย่อมมาเยือน

C360_2013-10-13-14-15-10-646

จากวันนั้นมาถึงวันนี้ มีโอกาสแวะมาเที่ยววัดทรายมูล (พม่า) อีกหนึ่งวัดพม่าในเชียงใหม่ ที่ในวัดแทบจะเป็นโรงเรียนถูกยัดบรรจุลงไป ให้เด็กๆ ได้มีโอกาสมาเรียนหนังสือ

C360_2013-10-13-14-15-42-956

เสียงเด็กๆ (น่าจะเป็นเด็กพม่า หรือไทยใหญ่) ดังเจี๊ยวจ๊าวไปทั่ววัด เพราะอ่านท่องไปตามอาจารย์ และพระสงฆ์ที่รับบทเป็นครูสอน โดยห้องเรียนพวกเขาไม่มีอะไรมาก มีแค่โต๊ะ เก้าอี้ กระดาน และเต็นท์ผ้าใบ กางให้ร่มเงาพอกันฝนกันแดดได้

C360_2013-10-13-14-27-28-642

บรรยากาศแบบนี้ มันสมควรที่จะเกิดอยู่บนดอยที่ไหนซักแห่ง แต่เปล่าเลย เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นในวัดทรายมูลแห่งนี้ ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ ใกล้กับแจ่งขะต๊ำ

C360_2013-10-13-14-26-40-322

C360_2013-10-13-14-16-27-104

นอกจากบรรยากาศห้องเรียนที่สมควรจะอยู่บนดอยมากกว่าในเมืองแล้ว บรรยากาศในวัดก็แทบจะถูกหยิบยกมาจากพม่า เพราะหลายๆ อย่างในนี้ กลิ่นอายศิลปะพม่ามาแบบเต็มเปา

C360_2013-10-13-14-24-49-076

เด่นสุดคงเป็นอุโบสถของวัดที่มีสถาปัตยกรรมแบบพม่า ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคาซ้อนชั้น ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นลวดลายปูนปั้นลงสีรูปดอกไม้ใบไม้ ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานศิลปะพม่าประทับนั่งมารวิชัย ฐานชุกชีประดับด้วยรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผมประดับกระจกสีงดงาม

C360_2013-10-13-14-22-22-003

C360_2013-10-13-14-20-26-383

จากการสันนิษฐาน วัดแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณรัชกาลที่ 5 เมื่อคนพม่าในบังคับของอังกฤษเข้ามาทำป่าไม้ รวมทั้งวัดของชาวไทใหญ่ คือวัดป่าเป้า และวัดหนองคำของชาวกะเหรี่ยง (ปะโอ) และเมื่อคิดคำนวณแล้ว น่าจะสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมิกราช โดยแม่ทัพพม่าชื่อ จ่ำสัง แต่ไม่ปรากฏปีที่สร้าง ส่วนวิหารและเจดีย์ได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ.2452

C360_2013-10-13-14-18-06-834

ใครไม่เคยไปวัดแห่งนี้ แนะนำเลยว่าลองไปเที่ยวดูครับ เพราะนอกจากศิลปะแบบพม่าที่คุณจะได้รับแล้ว บรรยากาศเด็กๆ กำลังท่องหนังสือ ประหนึ่งอยู่บนดอย คืออีกหนึ่งภาพที่คุณจะได้เห็น