วัดบวกค้าง

DSCF7503

ไปวัดมาก็หลายที่ในเชียงใหม่ แต่ที่เจอแปลกกว่าใครในเรื่องของวิหาร ก็ต้องวัดบวกค้าง ในอำเภอสันกำแพงกับความมหัศจรรย์ของวิหารแฝดครับแต่ก่อนจะไปดูวิหารแฝดมาทำความรู้จักกันกับ ที่ไปที่มาของวัดบวกค้างกันก่อน

วัดบวกค้าง เดิมชื่อวัดบวกค่าง ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 125 หมู่ที่ 1 ตำบลบวกค้าง ห่างจากอำเภอสันกำแพงประมาณ 5 กิโลเมตร สร้างขึ้นในระหว่าง พ.ศ. 1912 – 1914 ในสมัยพระเจ้ากือนา เป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรล้านนา โดยทรงอาราธนาพระมหาสุมณเถระจากกรุงสุโขทัยและพระเถระชาวรามัญอีก 10 รูป เข้ามาเผยแพร่ พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ โดยตั้งสำนักครั้งแรกที่วัดพระยืน (จ.ลำพูน) ทำการบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรชาวล้านนาและสร้างวัดตามชุมชนต่างๆเรื่อยมาจนถึงชุมชนบ้านบวกค่าง ได้สร้างวัดตรงที่ฝูงค่างมาขุดบวก(สระน้ำ)ไว้ จึงได้ชื่อว่า “วัดบวกค่าง”

DSCF7510

สำหรับสิ่งที่น่าสนใจในวัดบวกค้างนั้น คือ วิหารแฝด ที่มีลักษณะพิเศษ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2410 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้ครอบ พระนอนหล้า และพระเจดีย์กู่ดำ ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ยุคสมัยพระยามังรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งเมืองเชียงใหม่

DSCF7503

DSCF7505

DSCF7509

นอกจากนี้ ภายในวัดยังมี อุโบสถ หอพระไตร และถาวรวัตถุต่าง ๆ อีกมากมาย ที่ได้สร้างขึ้นจนทำให้วัดบวกค้างเจริญรุ่งเรือง และกลายเป็นศูนย์รวมจิตของชาวบ้านที่ประชากรส่วนใหญ่ 90% เป็นคนยอง และยังรักษาวัฒนธรรมประเพณีบางอย่างเป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเองเอาไว้

DSCF7506

DSCF7508

ตบท้ายด้วยเรื่องที่น่าใจอีกอันภายในวัด คือพิพิธภัณฑ์วัดบวกค้าง ที่วางตัวอยู่นั้นวัด อันนำโดยพระอธิการถวิล จน.ทส.โรและพระจตุพล พรหมชานนท์ ที่ต้องการเก็บรักษาและอนุรักษ์ศิลปวัตถุของชาวยองเอาไว้เพื่อให้ลูกหลานได้ดูต่อไป ซึ่งวัตถุที่จัดแสดง ได้แก่ หีบธรรม ดาบเจ้าเมืองยองนั้นเจ้าสุริยวงศ์ นำติดตัวมาจากเมืองยอง พระพุทธรูปไม้เก่าขนาดเล็ก ผ้าห่อคัมภีร์ ผ้ายันต์ที่เขียนชะตาเกิดเหมือนสูติบัตร ภาพเจ้าเมืองยองภายในวิหารหลังปัจจุบัน กู่คำ มณฑปพระเจ้า สร้างในสมัยพระเจ้ากือนา พระเจ้าขาวสร้างด้วยดินเหนียว เครื่องบวชพระเจ้าที่มีลวดลายแกะสลักสวยงามมาก นอกจากนั้นยังมีข้าวของเครื่องใช้ในการทำบุญอื่นๆ อีก เช่น ม่าน ตุง ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น

DSCF7502

งานนี้เรียกได้ว่าครบครันกันเลยทีเดียว สำหรับใครที่มาเที่ยววัดบวกค้าง เพราะนอกจากความงามของวิหารแฝดแล้ว ยังมีพิพิธภัณฑ์วัดบวกค้าง ให้ได้เข้าชมเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตของคนยองในสมัยอดีตอีกด้วย

ไว้คราวหน้าผมจะพาไปรู้จักกันแบบเต็มๆ กับพิพิธภัณฑ์วัดบวกค้าง ว่าข้างในนั้นมีอะไรน่าสนให้ได้เราเข้าไปเยี่ยมชมกัน