วัดป่าพร้าวนอก (ขุนคำ)

C360_2013-11-09-11-58-14-912

เรื่องนี้เป็นความสงสัยส่วนตัวครับ เวลาไปเที่ยววัดไหนแล้วเจอประตูวิหารปิด

ข้อสันนิษฐานแรกที่ผมคิดเอา น่าจะมาจากความหวงแหน ในทรัพย์สมบัติของทางวัดหลายๆ อย่างในวิหาร ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูป หรือของมีค่าอย่างอื่น การจะปล่อยให้บุคคลภายนอกเข้ามาเพ่นพ่าน เดินเข้าออกง่ายๆ บางทีมันก็เสี่ยงเกินไป ฉะนั้นก็ปิดประตูวิหารมันเลยล่ะกัน ไว้มีกิจของสงฆ์เมื่อไหร่ ค่อยเปิดแงมเข้าไปเอา

ข้อสันนิษฐานที่สอง บ้างวัดจะมีเพียงแค่วิหารเท่านั้น ซึ่งในฐานะชาวพุทธที่พอจะรู้เรื่องรู้ราวหน่อย ก็จะทราบว่า ทางวัดจะใช้วิหารในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนา โดยถ้าเป็นกรณีของอุโบสถ ญาติโยมจะไม่สามารถเข้าไปได้ แต่กลับกันถ้าวัดมีแค่เพียงวิหารเท่านั้นใน การจะเข้าไปเพ่นพ่านในนั้นของญาติก็จะสะดวกโยธิน และเพื่อเป็นการตัดปัญหา หลายๆ วัดเลยใช้มาตรการปิดประตูห้ามเข้าไปเลยล่ะกัน โดยยึดถือเอากฎของอุโบสถ ส่วนใครจะมาไหว้พระไหว้เจ้าอะไร ก็กราบไหว้ไปตรงศาสนสถานอย่างอื่นๆ แทน

C360_2013-11-09-11-56-08-886

คิดออกแค่สองข้อ และคงไม่คิดว่าจะมีข้อที่สามสี่ห้า หรือว่าถ้าหากใครคิดออก หรือไปถามท่านผู้รู้ ก็ชวนวานมาบอกกันด้วยนะครับ เพราะบางทีไอ้ผมก็อยากเข้าไปในวิหารหน่อย ก็ไหนๆ อุตสาห์มาแล้ว ก็อยากชมให้หมดทุกส่วน

หมาอยากกินปลากระป๋องที่เปิดไม่ได้ฉันใด ไอ้กระผมก็เป็นฉันนั้นแหละครับ เวลาไปวัดแล้วไม่ได้เข้าไปในวิหาร

C360_2013-11-09-11-54-42-113

วัดป่าพร้าวนอก (ขุนคำ) อีกหนึ่งวัดที่ตัวเองเหมือนน้องหมาอยากกินปลากระป๋อง เพราะทางวัดไม่ให้เข้าไปด้านในวิหาร  วัดแห่งนี้เริ่มสร้างในสมัยพระมหาอุปราชธรรมลังกา จุลศักราช 1660 ตรงกับปี พ.ศ. 2341 แต่เดิมวัดมีชื่อว่า วัดป่าพร้าวนอกช่างหม้อ เพราะตั้งอยู่บ้านป่าพร้าวช่างหม้อ ตามที่เรียกกันในสมัยนั้น ซึ่งชาวบ้านป่าพร้าวในสมัยนั้นมีอาชีพรองจากการทำนา คือการปั้นหม้อขาย

C360_2013-11-09-11-54-01-171

C360_2013-11-09-11-55-25-761

ตามตำนานกล่าวว่า นายกวาด ฮี่ปิ้ว ชาวเงี้ยว (ไทยใหญ่) เป็นผู้ชักชวนชาวบ้านทำการรื้อถางที่รกร้างว่างเปล่า แล้วก่อสร้างวัดขึ้น โดยในตอนแรกมีเพียง วิหาร กุฏิ ศาลา และ พระพุทธรูป เพียงองค์เดียวเท่านั้น เมื่อก่อสร้างวัดเสร็จ ชาวบ้านจึงพร้อมใจกัน กราบอาราธนา นิมนต์พระครูบาโปธา (แต่ไม่ปรากฏว่านิมนต์มาจากที่ใด) มาอยู่ประจำ และเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก

C360_2013-11-09-12-01-43-413

C360_2013-11-09-12-01-12-014

C360_2013-11-09-12-02-24-790

ต่อมาเมื่อบ้านเมืองมีความเจริญมากขึ้น ได้มีการจัดระเบียบการปกครองให้เป็นระบบมากขึ้น มีการแบ่งเขตการปกครองเป็นในเมืองนอกเมือง เพราะวัดป่าพร้าวช่างหม้อซึ่งตั้งอยู่นอกเมือง จึงเรียกกันว่าวัดป่าพร้าวนอก และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดป่าพร้าวนอกตราบจนทุกวันนี้ ส่วนปูชนียวัตถุในวัด ก็มีเจดีย์ศิลปะล้านนาผสมพม่า พระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐ ถือปูน ลงรักปิดทอง วิหาร และหอไตรครับ