วัดพวกเปีย

C360_2013-09-19-17-11-02-699

ผมเพิ่งมาสังเกตกันนะครับว่า สมัยก่อนช่างฝีมือในเมืองเชียงใหม่มีกันเยอะจริงๆ แถมแต่ล่ะสาขาวิชาชีพ ก็ล้วนแต่ถูกจัดอยู่ในระดับ 5 ดาว กันทั้งนั้น อย่างช่างเงินวัวลายนั้นไง อันนี้เยี่ยมยุทธกันสุดๆ ถึงขั้นสร้างพระอุโบสถเงินได้งดงามวิจิตรตระการตา ไหนจะแถววัดช่างฆ้อง ที่สมัยก่อนย่านนั้นก็เป็นแหล่งผลิตแรงงานฝีมือชั้นเยี่ยม ในเรื่องของการทำฆ้องและเครื่องทองเหลือง

และก็เช่นเคย ช่างฝีมือทั้งหลายเหล่านี้ มักมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างวัด…

C360_2013-09-19-17-08-36-002

วัดพวกเปีย ก็ตกเป็นหนึ่งในนั้นอย่างไม่มีข้อแก้ตัว แต่เดิมวัดแห่งนี้ชื่อว่า วัดพวกเปี๊ยะ ซึ่งไอ้คำว่า “เปี๊ยะ” หมายถึงเครื่องดนตรีไทยโบราณชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้บรรเลงอยู่ในสมัยล้านนาโบราณ โดยชาวบ้านแถวๆ วัดพวกเปียนี้เคยเป็นหมู่บ้านชุมชนช่างทำเปี๊ยะ หรือพิณเปี๊ยะ ซึ่งชาวบ้านนี้ได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นราว พ.ศ. 2040 จึงได้ชื่อว่า วัดพวกเปี๊ยะ ต่อมาเพี้ยนกลายเป็น วัดพวกเปีย

C360_2013-09-19-17-18-35-203

วัดพวกเปียนี้ ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า สร้างขึ้นวัน เดือน ปีใด แต่ในประวัติวัดพวกเปียของกรมการศาสนา ได้บันทึกว่าสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2040 และได้ร้างไปเมื่อครั้งเมืองเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า เมื่อราว พ.ศ. 2111

C360_2013-09-19-17-16-08-608

ต่อมาสมัยพระเจ้ากาวิละ ได้ทรงกอบกู้บ้านเมืองได้กวาดต้อนเอาชาวลุ่มแม่น้ำสาละวิน หรือเรียกว่า ชาวคง มาอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัด ในปี พ.ศ. 2342 และไปเอาชาวเชียงรุ้งสิบสองพันมา มาอยู่บริเวณโรงพยาบาลสวนปรุง (ยังมีวัดร้างชื่อ เชียงรุ้ง ถึงปัจจุบัน ซึ่งปรากฏในเอกสารการจัดหมวดอุโบสถ และนิกายสงฆ์ ได้กล่าวว่า..วัดพวกเปีย ตั้งอยู่ในแขวงประตูไหยา (หายยา) ในเวียงเชียงใหม่ชั้นนอก เจ้าอธิการชื่อ ปัญญา นิกายครง ยังไม่ได้รับเป็น พระอุปัชฌาย์ และรองอธิการชื่อ ทุพินเทา จำนวนพระลูกวัดในพรรษานี้มีพระ 2 รูป พรรษาก่อนมีพระ 1 รูป สามเณรมีอีก 4 รูป)

C360_2013-09-19-17-11-35-782

จากนั้น วัดพวกเปีย คงได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้านายผู้ครองนครเชียงใหม่ โดยในปี พ.ศ. 2446 คือ พระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ได้มาทำการสร้างพระวิหารให้กับวัดพวกเปีย แล้วทำการฉลอง ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516

C360_2013-09-19-17-15-43-624

ศาสนสถาน หลักๆในวัดแห่งนี้ที่สำคัญ ก็จะประกอบไปด้วยวิหารทรงล้านนา มีลักษณะเป็นแบบสองชั้น สองตับ หน้าบรรณทำเป็นรูปพรรณพฤกษา หน้าบันไดเป็นรูปพญานาค ด้านในพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์ และเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจ

C360_2013-09-19-17-13-42-388

C360_2013-09-19-17-14-34-471

C360_2013-09-19-17-12-16-835

นอกกจากนี้ก็ยังมี อุโบสถทรงไทยล้านนา, หอพระไตรปิฎก, ศาลาการเปรียญ, กุฏิสงฆ์ทรงไทยล้านนา 2 หลัง และหอระฆังอีกด้วย

C360_2013-09-19-17-09-21-719

ใครจะแวะมาเดินเล่นถนนคนเดินวัวลายในวันเสาร์ พร้อมเยี่ยมชมวัดศรีสุพรรณ วัดพวกเปียที่อยู่ไม่ไกลกันมากตรงถนนทิพย์เนตร คืออีกหนึ่งวัดที่ท่านควรจับยัดใส่โปรแกรมท่องเที่ยวในวัดหยุดครับ