วัดมหาวัน

C360_2013-11-10-12-32-39-120

ถ้าให้จิ้มเลือกวัดในย่านถนนท่าแพซักที่ ให้ติดอันดับความโดดเด่นโดนใจ ในระดับนางงามแล้ว ดูเหมือนว่าวัดมหาวัน น่าจะเข้าตากรรมการมากที่สุดครับ แม้จะมีคู่แข่งวัดอื่นๆ ที่พิกัดใหญ่กว่าก็ตาม

สาเหตุด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่นวัดแสนฝาง วัดนี้ภายนอกถ้านักท่องเที่ยวไม่สังเกตดีๆ ก็แทบไม่รู้ว่าด้านในมีอะไร เนื่องจากตรงถนนท่าแพ กำแพงวัดมันสูง ทั้งยังประตูทางเข้าก็ไม่โดดเด่น (แต่ด้านในสวยงามนะ) ส่วนอีกวัดคือวัดบุพพาราม วัดนี้มองผ่านๆ ก็เหมือนจะไม่มีอะไรคล้ายๆ กัน (กำแพงสูง รถก็จอดเกลื่อนวัดด้วย) ฉะนั้น รางวัลจึงสมควรมาตกที่วัดมหาวันมากที่สุด

C360_2013-11-10-12-29-27-787

กำแพงวัดไม่สูง ใครผ่านไปผ่านมาสังเกตได้ง่าย แถมศาสนสถานด้านในยังหลากหลายไม่แพ้วัดอื่นๆ เหตุผลเหล่านี้คงจะเพียงพอในการชูมือขึ้นแท่นนะขอรับ

C360_2013-11-10-12-29-58-389

วัดมหาวัน หรือ วัดมหาวนาราม มีความหมายของชื่อแปลที่ว่า ป่าไม้ใหญ่ เป็นวัดเก่าแก่ที่ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง วัดแห่งนี้ได้รับการบูรณะในสมัยพระเจ้ากาวิละ เมื่อครั้งที่พระองค์ได้ทรงกอบกู้เอกราชคืน หลังจากที่เชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ามายาวนานถึง 200 ปี บริเวณของวัดตั้งอยู่ในบริเวณที่ชาวพม่าและไทใหญ่ ซึ่งได้อพยพมาตั้งรกราก เพื่อทำสัมปทานไม้ในบริเวณถนนท่าแพมาแต่อดีต และด้วยความศรัทธาในพุทธศาสนา จึงได้ร่วมกันบูรณะวัดมหาวันขึ้น ก่อนส่งทอดศิลปกรรมภายในวัดด้วยศิลปะล้านนา พม่า และไทใหญ่ดังที่ปรากฏ โดยมีสิ่งที่น่าสนใจในวัดดังต่อไปนี้

C360_2013-11-10-12-31-13-272

พระวิหาร เป็นพระวิหารทรงล้านนา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2349 จากศรัทธาของ พ่อเลี้ยงหม่องปึ๊ด คหบดีชาวพม่า และนางคำหอม ภรรยาชาวเมืองเชียงใหม่ โดยได้เข้ามาทำสัมปทานไม้สักในเมืองเชียงใหม่ ต่อมากิจการก้าวหน้าได้เกิดศรัทธาจึงบูรณะวัดขึ้น ภายในพระวิหารประดิษฐาน “พระเจ้าโต” พระพุทธรูปศิลปะพม่า ที่สร้างขึ้นในคราวเดียวกับที่สร้างพระวิหาร

C360_2013-11-10-12-34-12-998

C360_2013-11-10-12-35-10-695

C360_2013-11-10-12-33-06-182

พระอุโบสถ เป็นพระอุโบสถทรงล้านนาประยุกต์ พื้นรอบพระอุโบสถยังมีเสมาโบราณปักอยู่โดยรอบ ส่วนหอไตร มีลักษณะสองชั้นเครื่องบนไม้มีหลังคาซ้อนชั้น มีการแกะสลักและลวดลายฉลุสวยงาม

C360_2013-11-10-12-37-21-122

เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ศิลปะพม่า ที่สร้างครอบเจดีย์เก่าทรงล้านนา เมื่อครั้งบูรณะวัด มีองค์ระฆังประดับลวดลายปูนปั้น ฐานสี่เหลี่ยมย่อมมุมประดับลวดลาย มีซุ้มประจำทิศทั้งสี่ทิศ

C360_2013-11-10-12-39-26-394

C360_2013-11-10-12-38-03-922

C360_2013-11-10-12-30-49-072

ทั้งหมดจากการบรรยาย และภาพที่นำมาประกอบ คงจะพอเป็นหลักฐานยืนยีนได้ว่า วัดแห่งนี้มีความสวยงาม เหมาะแก่การมาทำบุญ และท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง ส่วนใครถ้ามีเวลาเหลือเฟือ อยากจะแวะไปวัดเชตะวันที่อยู่ตรงข้ามกัน อันนี้ก็แล้วแต่สะดวกขอรับ ท่านทั้งทั้งหลาย