วัดราชมณเฑียร

C360_2013-09-18-15-44-11-675

บันไดวัดนี้มันแปลกดีนะ…

ใครจะไปสังเกตกันขนาดนั้นล่ะครับ ก็ขนาดขับรถผ่านทุกวัน สายตาก็ดันเอาแต่มองสาว มองรถราคันอื่นว่าจะมาสอยตูดเรามั้ย ยิ่งในช่วงที่ชาวช่องกำลังพากันแห่ไปทำงานหรือกลับบ้าน รถราในโซนคูเมืองฝั่งด้านใน ไม่อย่าจะบอกเลยว่าทั้งเยอะและทั้งติด

C360_2013-09-18-15-43-30-108

แต่ถึงแม้ชะตากรรมบนท้องถนนจะบัดซบขนาดไหน ความสงสัยผมก็ยังไวพอจะหาคำตอบ กับสิ่งรอบตัวว่าทำไมบันไดโบสถ์ของวัดราชมณเฑียร ตรงถนนศรีภูมิ ในตัวเมืองเชียงใหม่ มันถึงไม่เหมือนชาวบ้านเขาตรงที่ มันติดถนนใหญ่ตรงริมฟุตบาทเลย

เออ นั่นซิ ทำไม?

C360_2013-09-18-15-45-36-184

พอไปค้นข้อมูลก็เลยทราบถึงที่มาที่ไปว่า เดิมทีโบสถ์หลังเก่ามันหลังเล็ก แต่พอมีการขยับขยายสร้างใหม่ให้ใหญ่ขึ้น ที่ในวัดก็เลยไม่พอ พอไม่พอจะขยับขยายไปไหนก็ลำบาก ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ตรงบันไดขึ้นโบสถ์ เดิมที่มันเป็นประตูวัดเก่า โดยตามความเชื่อของชาวล้านนาและชาวเชียงใหม่ในสมัยก่อนเชื่อกันว่า ถ้ามีการปรับปรุง ก่อสร้างอะไรในวัด ประตูวัดเก่าห้ามเปลี่ยนแปลงหรือย้ายไปไหน

เมื่อเห็นดังนั้นเข้า ทางวัดก็เลยรวบเอาบันไดโบสถ์ใหม่หลังใหญ่ให้ติดถนน โดยใช้เป็นทางเข้าวัดไปในตัวด้วยอีกส่วนนึง สำหรับประตูวัดใหม่ก็ไปสร้างทางเข้าอีกฝั่งของวัด

C360_2013-09-18-15-45-59-397

นอกจากวัดราชมณเฑียรจะมีความแปลกที่ตรงบันไดเข้าโบสถ์ติดถนนแล้ว วัดแห่งนี้ยังมีความสำคัญตรงที่ เป็นวัดแห่งแรกของกษัตริย์ราชวงศ์มังราย มีสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนาอันสวยงามเก่าแก่มากมาย และเอกลักษณ์พิเศษที่สำคัญของวัดนี้คือ มีองค์พระประธานหินทรายแกะสลักทรงเครื่องประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถที่สวยงาม ซึ่งไม่เคยปรากฏในปัจจุบัน จะมีก็แต่ตำนานในอดีตที่บอกไว้ในสมัยพระเมืองแก้ว กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ ว่าได้ทรงสร้างพระพุทธรูปหินทราย ประดิษฐานไว้ยังวัดร่ำเปิง ซึ่งหลังจากนั้นมา ก็ไม่เคยมีพบว่ามีสร้างพระพุทธรูปหินทรายอีกเลย

C360_2013-09-18-15-48-00-041

สำหรับโบราณสถานที่สำคัญของวัดราชมณเฑียร มีวิหารลายคำ เป็นวิหาร 2 ชั้น ทรงไทยล้านนา ประดับลวดลายปูนปั้น และลายคำแบบล้านนา จึงเป็นที่มาของชื่อ “วิหารลายคำวัดมณเฑียร” แต่วิหารหลังเดิมที่สร้างมานานกว่า 579 ปี ชำรุดทรุดโทรม พระมหาชัชวาล โชติธฺมโม เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน และคณะศรัทธาจึงร่วมกันบูรณะ และสร้างวิหารหลังใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2545 จนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2549

C360_2013-09-18-15-48-16-826พระเจ้าหลวงทันใจ

รูปแบบของวิหารลายคำ ชั้นแรกใช้เป็นสถานที่ทำบุญ ชั้นที่ ๒ ใช้ในการทำสังฆกรรมของพระภิกษุ สามเณร ภายในพระวิหารประกอบด้วยเสากลาง มีระบียงเพไลล้อมรอบ ด้านนอกพระวิหารมีซุ้มประตู ประดับด้วยปูนปั้นลวดลายล้านนาประยุกต์ ประดับด้วยกระจกแก้วอังวะ ติดทองคำเปลว เช่นเดียวกับศิลปะล้านนาที่ใช้อยู่ในยุคปัจจุบัน

ใครอยากไปชมความสวยงาม และความแปลกประหลาดของบันไดโบสถ์วัดแห่งนี้ ก็ตรงไปที่วัดราชมณเฑียร ตรงถนนศรีภูมิกันได้เลยครับ