วัดวังสิงห์คำ

C360_2013-11-09-10-11-40-499

เล่นเอางงกันเลยทีเดียวครับ กว่าจะมาถึงวัดวังสิงห์คำ เพราะระหว่างทางที่ขับมอเตอร์ไซค์กินลมชมวิวมา ตลอดริมฝั่งแม่น้ำปิง ไอ้ผมก็กลัวหลงทาง และขับรถเลยวัดวังสิงห์คำซะเหลือเกิน

จะโทษป้ายจราจรก็มีส่วน เนื่องจากป้ายแรกที่ผมเจอมันแปะตรงใต้สะพานมหิดลตรงที่กลับรถถนนช้างคลาน ซึ่งไอ้เราก็คิดว่า วัดคงจะอยู่ไม่ไกลนัก แต่ที่ไหนได้กว่าจะขับมาถึง เล่นเอาผมวิตกกังวลอย่างที่เกริ่นไว้แต่แรก สุดก็ไม่มีปัญหาอะไรให้น่าหนักอกหนักใจครับ

C360_2013-11-09-10-21-39-255

วัดวังสิงห์คำแห่งนี้ จากความเป็นมาบอกว่าแต่เดิมตั้งอยู่ ณ ที่ดินแปลงที่โรงเรียนวัดวังสิงห์คำตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ แต่เนื่องจากว่าอยู่ห่างไกลจากถนน และแม่น้ำไม่สะดวกแก่การคมนาคมซึ่งในสมัยก่อนจะใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นส่วนมาก ดังนั้นชาวบ้านจึงได้ย้ายวัดมาสร้าง ณ ที่ตั้งในปัจจุบันนี้เมื่อพุทธศักราช 2417 โดยมีท่านท้าวคำวงศ์ษาเป็นผู้มอบถวายที่ดินให้สร้างวัด ที่ได้ชื่อว่า “วังสิงห์คำ”

C360_2013-11-09-10-33-05-975

ตามตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันว่า แต่เดิมริมฝั่งแม่น้ำปิงบริเวณตรงต้นจามจุรี (ฉำฉา) ที่อยู่บริเวณหน้าวัดในขณะนั้นนี้มีความลึกมากน้ำใสสะอาดเป็นวังน้ำวน ได้มีพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคำประดิษฐานอยู่ พระพุทธรูปองค์นี้ได้แสดงอภินิหารติดเบ็ด ติดอวน ติดแหของชาวบ้านที่ออกหาปลามาถึงท่าน้ำหน้าวัดอยู่ตลอด ชาวบ้านก็ได้อัญเชิญเอาพระพุทธรูปทองคำมาประดิษฐานไว้ที่วัด พอตกกลางคืนพระพุทธรุปองค์นี้ก็แสดงอภินิหารกลับลงไปในแม่น้ำปิงตามเดิม และติดเบ็ด ติดอวน ติดแหของชาวบ้านที่ประมงหาปลาอีกเรื่อยๆ สลับไปมา

C360_2013-11-09-10-22-53-633

ปัจจุบันองค์พระพุทธรูปสาบสูญไปและเข้าใจว่าคงจะประดิษฐานอยู่แม่น้ำปิงตามเดิม นับตั้งแต่นั้นมาจึงได้ชื่อว่า “วังสิงห์คำ” มาตราบเท่าทุกวันนี้

C360_2013-11-09-10-18-39-118

สิ่งที่น่าสนใจในวัดก็มี วิหารพระเจ้าทันใจครับ ลักษณะเสาและหน้าบรรณเป็นของเก่าตอนที่รื้อวิหารหลวงของวัด และเคยมีคนมาขอซื้อตั้ง 2 ล้าน แต่ท่านเจ้าอาวาสวัดไม่ขายเหมือนวัดอื่น ก่อนจะทำการเก็บไว้ให้ลูกหลานได้ชื่นชมความสวยงาม และคาดว่าหน้าบรรณนี้อายุร้อยกว่าปีแล้ว

C360_2013-11-09-10-19-17-192

วิหารวัดวังสิงห์คำ เดิมเป็นที่ตั้งของอุโบสถ วิหารสร้างด้วยอิฐถือปูน สิ่งที่น่าสนใจของวิหาร คือบานหน้าต่างวิหารที่ไม่เหมือนกันสักบาน เป็นไม้แกะสลักรูปพุทธประวัติ มีองค์พระประธานเป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ส่วนอุโบสถเป็นทรงล้านนาไทย และเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส

C360_2013-11-09-10-16-07-435

C360_2013-11-09-10-12-47-145

จากภาครวมทั้งหมดของวัด ถือเป็นอีกวัดเล็กๆ ที่น่าสนใจในตำบลป่าแดด ที่มีความสวยงาม และมีเอกลักษณ์ในตัวเองเป็นอย่างยิ่งครับ