วัดสกิทาคา (ผาลาด)

C360_2013-10-05-17-35-07-064

ไม่รู้ว่าตัวเองเอาเวลาไปโง่ที่ไหนตั้งนาน ถึงไม่รู้ว่าวัดผาลาด เป็นวัดที่สวยงามเอามากๆ

โบราณสถาน พร้อมบรรยากาศวัดโดยรอบที่ถูกห่อหุ้มไปด้วยธรรมชาติ ใครมาแล้วไม่ชอบก็ให้มันรู้ไป…

เหตุที่เจอเข้าเพราะระหว่างทางขาลงจากดอยสุเทพ เกิดอยากแวะถ่ายรูป แต่พอได้ถ่ายเลยเกิดอยากรู้ว่าวัดอะไร ทำไมมีแค่ป้ายด้านหน้า กับศาสนสถานแห่งสองแห่ง ที่ไหนได้มันมีซอยลงไปด้านล่างครับพี่น้อง

C360_2013-10-05-17-23-57-511

จากปากทางลงดอยสุเทพมา ต่อเนื่องมาป้ายวัดผาลาด แล้วขับรถตรงไปด้านล่างเป็นอันเจอวัด ซึ่งภายในนั้นทั้งศาสนสถานและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ต้องบอกว่าสวยงามมาก อีกทั้งยังเงียบสงบ (จนวังเวงเลยล่ะ) ซึ่งเสียงที่ได้ยินที่หลุดรอดออกมาก็มีแค่เสียงแมลง และน้ำตกไหลรินกันเท่านั้น

C360_2013-10-05-17-24-53-513

ความมีเสน่ห์มันอยู่ตรงน้ำตกไหลผ่านแทรกกลางตรงวัดเนี่ยแหละครับ แล้วรอบๆข้างก็จะเป็นศาสนสถานตั้งอยู่เรียงราย ณ ห้วงเวลานั้นผมสัมผัสได้เหมือนตัวเองหลุดไปอยู่อีกโลกใบนึง

C360_2013-10-05-17-35-30-619

C360_2013-10-05-17-30-28-407

อย่างที่เกริ่นไป ในวัดผาลาด ศาสนสถานมีกันอย่างหลากหลาย และล้วนแต่สวยงามอย่างยิ่ง ซึ่งที่สำคัญๆ ก็จะมีกันดังต่อไปนี้

วิหาร  สร้างขึ้นในในสมัยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ โดยเลี่ยงจากฐานวิหารเดิมมาทางทิศใต้  เพื่อไม่ให้ซ้อนที่กัน  ด้านหน้าบันวิหารแกะสลักเป็นรูปนกยูงสัญลักษณ์ของพม่า ส่วนด้านหลังแกะเป็นรูปกระต่าย อันเป็นปีเกิดของครูบาเทิ้ม   ปัจจุบันป้านลม  ช่อฟ้าหักลงมาเกือบหมด   หลังคาก็ผุพังชำรุดหลายแห่ง  เมื่อฝนตกจะเกิดการรั่วซึมเกือบทั่วทั้งหลัง

C360_2013-10-05-17-30-51-088

เจดีย์ เป็นศิลปะสมัยครูบาศรีวิชัยเช่นเดียวกัน  แต่สร้างโดยช่างชาวพม่า กลุ่มเดียวกับที่สร้างวิหารงานจึงออกมาเป็นศิลปะแบบพม่า สันนิษฐานว่ารูปทรงน่าจะคล้ายกันกับ วัดมหาวัน  ตรงถนนท่าแพ  เชียงใหม่

บ่อน้ำ บ้างบอกว่าเป็นบ่อน้ำทิพย์ ซึ่งจากการสังเกตทำให้ทราบว่ามีการสร้างทับขึ้นหลายครั้ง จึงสันนิษฐานว่า ครั้งที่หนึ่งสร้างขึ้นโดยชาวเมืองสุโขทัย ที่ติดตามงานบุญอัญเชิญพระธาตุร่วมกับพระเจ้ากือนา เพื่อเอาน้ำไว้กิน อาบ โดยเป็นวิธีการกรองน้ำอย่างหนึ่งของคนโบราณ จะได้ไม่ต้องใช้น้ำจากลำห้วยโดยตรง ครั้งที่สองน่าจะเป็นสมัยที่พม่าครองเมืองเชียงใหม่ (ดูจากอิฐที่ปากบ่อ น้ำ) และครั้งที่สามในสมัยครูบาศรีวิชัย การสร้างมณฑปครอบบ่อน้ำนี้ เป็นประเพณีที่นิยมทำกันในถิ่นชาวไทย ใหญ่ และทางภาคเหนือของพม่า

C360_2013-10-05-17-35-07-064

พระพุทธรูปหน้าผา เดิมเป็นหอพระพุทธรูปที่สวยงามมาก เป็นวิหารสี่เหลี่ยมตามแนวผา ศิลปะพม่าร่วมสมัย มีผู้เล่าว่าสมัยก่อนพระที่อยู่ตรงหน้าผาเป็นพระศิลป์แบบเชียงแสน  และมีพระพระพุทธรูปศักดิ์องค์หนึ่งเรียกว่าพระไล่กา ภายหลังมีชาวไทยใหญ่หลบภัยสงครามมาอยู่ที่ถ้ำผาลาดนี้  จึงพากันสร้างพระพุทธรูปไว้สักการะ และป้องกันภัย

วิหารวัดสามยอบ ปัจจุบันเห็นแต่เพียงเนินดินสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร  มีอิฐกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ  ด้านหน้าวิหารมีร่องรอยของสระน้ำอยู่

C360_2013-10-05-17-29-38-319

นั่นคือ ศาสนสถานสำคัญคร่าวๆ ที่กล่าวถึง ซึ่งจริงๆ ยังมีอีกหลายส่วนเลยล่ะที่น่าสนใจ เอาเป็นว่าใครจะมาเที่ยววัดแห่งนี้ ผมกล้ารับรองเลยว่า คุณจะติดใจกับบรรยากาศในวัดอย่างแน่นอนครับ