วัดสันป่าเลียง

C360_2014-02-14-11-30-20-939

วัดสันป่าเลียง หนึ่งในวัดสำคัญของตำบลหนองหอย ในตัวอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ที่ถูกยกให้เป็นสำนักเรียนของสงฆ์ที่สำคัญที่มีคัมภีร์ใบลานและปั๊บสาที่จารึกเรื่องราวและความรู้ต่างๆ เก็บไว้เป็นจำนวนมาก

C360_2014-02-14-11-33-09-778

ตามประวัติความเป็นมาบอกเล่าว่า ในอดีตท่านครูบาธรรมธิ ได้เดินธุดงค์หาที่ปลีกวิเวกเพื่อปฏิบัติธรรม จนมาถึงสถานที่ซึ่งเป็นป่าทึบ และมีความสงบร่มรื่น ท่านครูบาเห็นว่าเป็นที่สัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม จึงปักกลดจำพรรษา จากนั้นประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง ได้พากันมาทำบุญฟังธรรม และเกิดความเลื่อมใส จึงร่วมใจกันสร้างกุฏิ เพื่อให้เป็นที่พักอาศัยของท่านครูบา แล้วอาราธนาให้ท่านสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางรวมจิตใจของชาวบ้าน และเรียกวัดแห่งนี้ว่า “วัดสามปอเลียง” เนื่องจากมีต้นปอใหญ่ 3 ต้น ขึ้นเรียงกันอยู่บนสันนาในบริเวณที่สร้างวัด ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดสันปอเลียง และเรียกชื่อเพี้ยนเป็น “วัดสันป่าเลียง” จนถึงปัจจุบัน

C360_2014-02-14-11-35-17-129

C360_2014-02-14-11-34-36-073

C360_2014-02-14-11-32-11-121

อย่างที่ได้จั่วหัวไว้แต่แรกว่าในอดีตวัดแห่งนี้เป็นเป็นสำนักเรียนของสงฆ์ ที่สำคัญสำนักหนึ่งที่มีคัมภีร์ใบลาน และปั๊บสาที่จารึกเรื่องราวและความรู้ต่างๆ เก็บไว้เป็นจำนวนมาก โดยในปี พ.ศ. 2471 นั้น ท่านครูบาเจ้า พระครูสุวัฒน์วราคุณ ในฐานะเจ้าอาวาสวัดสันป่าเลียง ได้ร่วมกับคณะทายก ทายิกา และคณะศรัทธาชาวบ้านสันป่าเลียง ได้สร้างหอธรรมขึ้นในรูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมพื้นบ้านล้านนา เพื่อใช้เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฏกและเอกสารโบราณต่างๆ  อันเป็นหลักฐานสำคัญในทางพระพุทธศาสนา

C360_2014-02-14-11-37-25-198

แต่เนื่องจากวัดสันป่าเลียง ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่ม มีน้ำท่วมเกือบทุกปี เป็นเหตุให้หอธรรมหลังนี้ถูกดินตะกอนและทราบทับถมฐานอาคารเพิ่มขึ้นทุกปี และสภาพความชื้นที่เกิดขึ้น ก็ได้ทำให้ภาพเขียนสีฝุ่นผสมน้ำ ซึ่งประดับอยู่ผนังด้านนอกของหอธรรม เป็นภาพเทพบุตร เทพธิดา ภาพ 12 ราศี ภาพแม่ธรณีบิดมวยผมหลุดร่อนลงเกือบหมด รวมทั้งส่วนประกอบอาคารที่ทำด้วยไม้ก็ผุพังเป็นอันมาก

C360_2014-02-14-11-30-20-939

ภายหลังที่ถูกน้ำท่วมจนเสียหายไป ในปี พ.ศ. 2536 ทางวัดจึงได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์หอธรรมหลังนี้ขึ้นใหม่ รวมับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ กรมศิลปกร หน่วยศิลปกรที่ 4 เชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และกรมการศาสนา

C360_2014-02-14-11-37-58-687

จากการบูรณะปฏิสังขรณ์ในครั้งนั้น ได้รักษาโครงสร้างและศิลปะสถาปัตยกรรมตามแบบเดิมไว้ทุกประการ แต่เนื่องจากฐานอาคารหอธรรมอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดินปัจจุบันถึง 1.20 เมตร การที่จะยกตัวอาคารให้อยู่ในระดับพื้นดินปัจจุบัน อาจจะทำให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างอาคารและส่วนประกอบอื่นๆ ได้ ในการบูรณะจึงได้ทำการขุดลอกดินบริเวณโดยรอบอาคารหอธรรม ซึ่งการปรับปรุงโครงสร้างหอพระธรรมในครั้งนี้ นายช่าง ดำรง เขื่อนแก้ว บ้านหนองใคร้ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่เป็นหัวหน้า

C360_2014-02-14-11-36-36-566

C360_2014-02-14-11-38-13-518

สำหรับผนังด้านนอก ซึ่งเดิมเป็นรูปเขียนสีฝุ่นผสมน้ำในการบูรณะครั้งนี้ ยังคงลักษณะรูปเดิมไว้ แต่ได้เปลี่ยนจากภาพเขียนสีฝุ่นผสมน้ำเป็นภาพประติมากรรมปูนปั้น ซึ่งงานประติมากรรมปูนปั้นทั้งหมดรวมทั้งการลงรักปิดทอง หน้าบัน ช่อผ้า ใบระกา มีนายช่าง ธวัช ชื่นสนิท และนายช่าง สนั่น คำเปียง เป็นผู้ดำเนินการส่วนที่ได้ตกแต่ง ก่อนจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2538 และทำพิธีน้อมถวายเป็นสมบัติในบวรพระพุทธศาสนา เมื่อวันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2538 เวลา 09.30 น.ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนเจ็ดเหนือ