วัดเมืองสาตรหลวง

C360_2014-02-03-10-43-46-382

จังหวะพลัดหลงเข้ามาหาของกินแถวตลาดหนองหอยในช่วงสายของวัด นำพาตัวเองมายังวัดเมืองสารตหลวง ที่ตั้งอยู่บนถนนเมืองสาตร ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

แต่ก่อนจะมาถึง เรื่องมันมีอยู่ว่าตัวเองไปหลงๆ งงๆ กับเส้นทางมาหาร้านข้าวกิน ซึ่งเป้าหมายก็คือ ข้าวหมกไก่ไลลา ในซอยใจแก้ว ซึ่งพอขับรถมาถึงตรงที่คิดว่าจะใช่ ก็เข้าใจว่าร้านยังไม่เปิด หรืออาจจะหยุดกันในวันนั้น แต่ความจริงที่ตัวเองละเลย คือไม่ได้อ่านป้ายร้านที่เขาแจ้งชาวบ้านไปแล้วว่า ตูย้ายร้านไปแถมตรงข้ามปั้มเอสโซ่แล้วนะ

นึกแล้วก็อยากเขกมะเหงกตัวเองในความโง่ ที่อดกินข้าวหมกไก่ร้านใหม่ในวันแรก จนต้องขับรถมาอีกวันหลังกระจ่างในที่ตั้งร้าน

หลังหัวเสียเพราะความโง่ตัวเอง การขับรถไปตามทางเรื่อยเปื่อยเพื่อหาข้าวกิน เลยทำให้ตัวเองมาพบวัดเมืองสารตหลวงเข้า แน่นอนผมต้องแวะเข้ามาทำความรู้จักกับวัดซักหน่อย

C360_2014-02-03-10-38-56-758

ตามหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือตำนานเชียงใหม่ บอกกล่าวไว้ว่า วัดเมืองสาตรหลวง สร้างขึ้นประมาณ ปีพ.ศ.2412 โดยมีพระอธิการเทพ อินฺทปญฺโญ อดีตเจ้าอาวาสรูปแรก และท้าวเขื่อนคำเป็นผู้สร้างขึ้น

C360_2014-02-03-10-40-05-311

ศาสนสถานที่สำคัญภายในวัด มีวิหารและเจดีย์ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2412  สมัยพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ โดยมีพระอธิการเทพ และท้าวเขื่อนคำเป็นผู้ดำเนินการสร้าง ซึ่งวิหารมีขนาดความกว้าง 8 เมตร ความยาว 20 เมตร มีลักษณะทรงล้านนา ก่อด้วยอิฐถือปูน เสาไม้สักเขียนลายทอง ฝาผนังเขียนภาพจิตรกรรมโบราณ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและพระเวสสันดร หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ตามลำดับ

C360_2014-02-03-10-43-46-382

C360_2014-02-03-10-38-24-584

สิ่งที่โดดเด่นภายในวิหารอย่างที่ได้เกริ่นไว้ คือจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดเมืองสารทหลวง ที่ประกอบด้วยภาพพุทธประวัติ  พระเวสสันดรชาดก และลายคำโบราณทั่วไปซึ่งปัจจุบันหาดูได้ยากยิ่ง ทั้งนี้ยังเป็นภาพที่ต่างจากจิตรกรรมฝาผนังทั่วไป  กล่าวคือ เป็นภาพที่ไม่มีคำอธิบายซึ่งเป็นแบบสมัยโบราณเขียนเมื่อ พ.ศ. 2535 – 2537 นอกจากนี้ช่างเขียนยังได้ลงรักปิดทองภาพจิตรกรรมนั้นทำให้มีความเป็นเอกลักษณ์แบบโบราณอย่างแท้จริง (น่าเสียดายในวันที่ไป ทางวัดไม่เปิดให้เข้าไปชม)

C360_2014-02-03-10-41-02-747

C360_2014-02-03-10-45-53-308

ส่วนศาสนสถานอื่นๆ ภายในวัด ก็มีอุโบสถทรงล้านนาไทย ก่อด้วยอิฐถือปูน ภายในเป็นภาพเขียนจิตรกรรมเรื่องทศชาติชาดก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2521 และหอไตรทรงล้านนาไทยประยุกต์  2 ชั้น ชั้นล่างก่อด้วยอิฐถือปูน ชั้นบนไม้สัก ประดับลายปูนปั้นสร้างเมื่อ พ.ศ. 2542 ที่รอคอยให้พี่น้องหลายๆ คนได้แวะไปเยี่ยมชมกันครับ