วัดแสนฝาง

C360_2013-09-18-15-07-40-341

วัดกับพระมหากษัตริย์เมืองเชียงใหม่ในอดีต ดูจะเป็นของคู่กันนะครับ เพราะแต่ละแห่ง แต่ละที่ ล้วนแต่มีพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวโยง สร้างเรื่องราวกันด้วยทั้งนั้น

C360_2013-09-18-15-01-11-845

วัดแสนฝาง ตรงถนนท่าแพก็คือหนึ่งในนั้น วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ สร้างในสมัย พญาแสนภู (กษัตริย์องค์ที่ 3) แห่งราชวงศ์มังราย ในราวปี พ.ศ. 2119 โดยสร้างขึ้นด้วยพระราชศรัทธาตามแบบบรรพกษัตริย์ ซึ่งนามของวัดนั้นคำว่า “แสน” มาจากพระนามของพระองค์ ส่วนคำว่า “ฝาง” นั้นกลายมาจากคำว่า “ฝัง” ซึ่งเป็นการฝังพระราชทรัพย์ไว้กับพระศาสนา ที่ถือเป็นการสั่งสมบุญกุศล

C360_2013-09-18-15-12-18-459

วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เจ้านครเชียงใหม่และพระญาติ ได้เสด็จมาปฏิบัติธรรมรักษาศีลที่กันอยู่เป็นประจำเสมอมาครับ ซึ่งก็ได้รับการอุปถัมภ์ตลอดมา สิ่งที่น่าชมภายในวัดมีหลายอย่างด้วยกัน หลักๆ จะมีพระวิหารลายคำซึ่งเป็นที่ประทับเก่าพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ และพระเจดีย์มงคลแสนมหาชัยที่วิจิตงดงาม ลักษณะคล้ายเจดีย์ชเวดากองของพม่า ส่วนอันอื่นก็น่าสนใจน้อยไม่แพ้กัน

C360_2013-09-18-15-09-29-482

ไปดูกันอย่างแรกก่อนเลยพระวิหารลายคำ เป็นพระวิหารทรงล้านนา ที่เป็นตำหนักเดิมของ พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ ซึ่ง พระเจ้าอินทวิชยานนท์และเจ้าทิพเกสรราชเทวี ได้โปรดฯ ให้รื้อและนำไปสร้างเป็นพระวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2420 พระวิหารประดับด้วยไม้แกะสลักลวดลายพรรณพฤกษา เทวดา หนุมาน และสัตว์ในหิมพานต์ ที่วิจิตรงดงาม

C360_2013-09-18-15-10-08-562

C360_2013-09-18-15-08-26-295

ต่อเนื่องกันมา เป็นพระเจดีย์มงคลแสนมหาชัย เจดีย์ศิลปะพม่าที่บูรณะขึ้นในสมัยครูบาโสณโณเถระ ลักษณะคล้ายพระเจดีย์ชเวดากองของพม่า ตั้งอยู่บนฐานย่อเก็จ องค์เจดีย์ประดับแก้วอย่างวิจิตรงดงาม รายล้อมด้วยเจดีย์บริวาร ยอดประดับฉัตร มุมทั้งสี่ประดับด้วยสิงห์ปูนปั้น

C360_2013-09-18-15-07-09-914

นอกจากศาสนสถานหลักๆ ที่อ้างถึง วัดแสนฝางก็ยังมีพระอุโบสถพระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระมเหสีในพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2453 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนผสมไม้ ผนังทำซุ้มศิลปะตะวันตก ชั้นบนเป็นเครื่องไม้ แกะสลักงดงาม ด้านข้างประดับรูปดาว สันหลังคาประดับรูปกินนรี

C360_2013-09-18-15-04-16-737

กุฏิ 100 ปี โยนการพิจิตร กุฏฺนี้สร้างด้วยศรัทธาของ หลวงโยนการพิจิตร ( ปันโหย่ ) คหบดีพม่า เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ศิลปะล้านนาผสมตะวันตก บริเวณหน้าต่างทำซุ้มปูนปั้นแบบตะวันตก หลังคาประดับด้วยไม้แกะสลัก และสังกะสีแกะลวดลายที่งดงาม

C360_2013-09-18-15-06-06-839

หอไตรเก่า เป็นหอไตรก่ออิฐถือปูนผสมไม้ 2 ชั้น ชั้นบนเป็นเครื่องไม้ทรงล้านนา ประดับด้วยงานไม้แกะสลัก สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2412 โดย พระราชชายาเจ้าดารารัศมี

หอเวรยาม เป็นหอรักษาการณ์เก่าที่เคยมีทหารมาเฝ้าเวรยาม ปัจจุบันมีอยู่ 2 แห่ง แสดงถึงการให้ความสำคัญกับวัด ซึ่งเป็นวัดที่เจ้าผู้ครองนครและพระญาติ ได้เสด็จมามาปฏิบัติธรรมรักษาศีลกันอยู่เสมอ

ถือว่าวัดแสนฝาง เป็นอีกหนึ่งวัดที่สวยงาม ไม่แพ้วัดอื่นๆ ในตัวอำเภอเมืองเชียงใหม่ แต่อย่างใดกันเลยครับ