หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่

C360_2013-10-02-14-06-19-651

ปกติโดยทั่วไป เวลาไปเที่ยวหอศิลป์ หรือพิพิธภัณฑ์อะไรก็แล้วแต่ในเชียงใหม่ ฝรั่ง กับคนจีน จะเป็นจำนวนประชากรที่เยอะที่สุดในการไปเยี่ยมชมแต่ละครั้ง ส่วนคนไทยเหรอครับ เหอะๆๆ ละไว้ในฐานที่เข้าใจ

คิดดูก็แล้วกัน ขนาดแผ่นพับแนะนำที่เที่ยว คุณเจ้าหน้าที่ผู้แสนสวยยังบังอาจเก็บเวอร์ชั่นภาษาไทยไว้ในลิ้นชักกันเลยนะฮะ ส่วนเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษเอาไว้ตรงหน้าเคาน์เตอร์แบบเต็มอัตราศึก

ในย่านแถมอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ โซนนี้จะมีแหล่งท่องเที่ยวแนวหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ อยู่ด้วยกัน 3 แห่ง ถ้ายึดเอาตัวเองเป็นหลัก โดยการไปสะเออะยืนหันหน้าเข้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ตรงหน้าคุณจะเป็นหอศิลปวัฒนธรมเมืองเชียงใหม่ ถัดหลังไปจากหอศิลป์ จะเป็นหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ และที่อยู่ตรงข้ามกับอนุสาวรีย์จะเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

C360_2013-10-02-15-52-55-623

ใครมาเที่ยว หลักๆ ก็จะเริ่มตรงหอศิลปวัฒนธรมเมืองเชียงใหม่ กันก่อนล่ะครับ แต่สำหรับผม มักจะเริ่มจากตรงหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่กันก่อน แล้วค่อยๆ ไล่เรียงมา หอศิลป์ และพิพิธภัณฑ์

C360_2013-10-02-13-55-56-407

ราคาเข้าชมเหมาจ่าย 40 บาท คุณเจ้าหน้าที่เสนอผม (ราคาคนไทยนะ) สิ่งตอบรับคือ ชมทั้ง 3 สถานที่ แต่ถ้าจ่ายที่เดียว ก็ 20 บาท ฉะนั้นใครเวลาเยอะ จัดไปโลดดอกเดียว 3 ที่ คุ้มสุดๆ

3 สถานที่ กับข้อมูลนับแสน และรูปภาพนับล้าน (เวอร์ไป) กระผมจะทำการย่อยสลายออกมาเป็นที่ของใครของมัน ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกในการอ่าน

C360_2013-10-02-13-53-42-950

หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ เนื้อหาหลักๆ จะจัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่สร้างเมืองเชียงใหม่จนถึงปัจจุบัน ภายในพื้นที่จะประกอบไปด้วยส่วนนิทรรศการ, แหล่งขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นแนวกำแพงโบราณวัดพระแก้วในอดีต ซึ่งสร้างขึ้นตามคติความเชื่อของชาวไทยภาคกลาง และก็จะห้องสมุดฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่ (เรื่องห้องสมุดลองไปหาอ่านเอาเพิ่มเติมได้ครับ ผมเขียนไปแล้ว)

2013-10-04_091140

หลังจากเข้าไปสำรวจชมด้านใน จากหัวข้อย่อย 16 เรื่อง ก็พอจะบีบรวมมาเป็น 5 เรื่องใหญ่ๆ ดังนี้

C360_2013-10-02-13-57-24-936

ก่อราชวงศ์มังราย ตรงนี้จะกล่าวถึงชุมชนลัวะ หรือชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ก่อนการสร้างเมืองเชียงใหม่ มีเรื่องของอิทธิพลแนวความคิด ความเชื่อ และพิธีกรรมต่างๆที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน

C360_2013-10-02-13-57-52-416

C360_2013-10-02-14-07-28-854

C360_2013-10-02-14-08-19-373

ยุคราชวงศ์มังราย (พ.ศ.1839 – 2101) โซนนี้เป็นเรื่องราวการสร้างเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงยุครุ่งเรือง กฎหมายมังรายศาสตร์ พุทธศาสนา พัฒนาการของอักษร ภาษา และวรรณกรรมล้านนา รวมทั้งยุทธศาสตร์และเส้นทางการค้าของเชียงใหม่

C360_2013-10-02-14-02-40-984

พม่าปกครอง (พ.ศ.2101 – 2317) เรื่องราวประวัติศาสตร์กว่า 200 ปี ในช่วงที่เชียงใหม่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า การต่อสู้ และร่องรอยการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่หลงเหลือไว้ในงานสถาปัตยกรรม ภาษา อาหาร การแต่งกาย ฯลฯ

C360_2013-10-02-13-59-26-331

C360_2013-10-02-14-07-03-646

C360_2013-10-02-14-04-17-752

หลังเป็นอิสระจากพม่า (พ.ศ.2317 – 2475) บอกกล่าวสภาพบ้านเมืองหลังจากเป็นอิสระจากการปกครองโดยพม่า การรวบรวมกำลังคนเพื่อฟื้นฟูบ้านเมือง บทบาทของเจ้าผู้ครองนครต่อพลเมือง การตกเป็นเมืองประเทศราชของสยาม ตลอดจนการขยายตัวของความเจริญผ่านการเข้ามาของเส้นทางเดินรถไฟ และเส้นทางคมนาคมสมัยใหม่

C360_2013-10-02-14-04-47-318

C360_2013-10-02-14-04-03-739

C360_2013-10-02-14-05-16-241

จากประเทศราชเป็นจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ.2475 – ปัจจุบัน) เนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทของเชียงใหม่เมื่อครั้งยังเป็นเมืองประเทศราช การติดต่อทางการค้าและธุรกิจป่าไม้กับต่างชาติ ความขัดแย้งกับคณะมิชชันนารี การปรับปรุงรูปแบบการปกครองในรูปของมณฑลลาวเฉียง การปฏิรูปการปกครองของสยาม อันส่งผลต่อการเปลี่ยนสถานะของเชียงใหม่เป็นจังหวัดเท่าเทียมกับจังหวัดอื่นๆ

C360_2013-10-02-14-05-54-026

และนั้นก็คือหัวข้อทั้งหมด ใครอยากทราบเพิ่มก็ลองสละเวลาดูในนั้นได้ตามสะดวกจากสื่อต่างๆ ทั้งภาพ วิดีทัศน์ แบบจำลองสถานที่ และสิ่งของต่างๆ

ชมนิทรรศการเสร็จแล้วออกมา คุณจะรู้สึกเหมือนผมเลยว่า “วิชาประวัติศาสตร์” มันเหมาะสำหรับบางคนจริงๆ

ปล.ใครยังไม่รู้ตัวเอง ก็ลองไปเช็คดูเกรดสมัยเรียนเอานะครับ อ่อ ที่นี้หยุดทุกวันจันทร์ เปิดตั้งแต่ 08.30-17.00 น.