แนะนำทริปเที่ยววัดถนนท่าแพ

page

ถ้าให้จินตนาการตามประตูเมืองเชียงใหม่ทั้ง 5 ด้าน ประตูท่าแพน่าจะเปรียบเสมือนกับประตูหลักของบ้านที่แขกไปใครมา ต้องผ่าน หรือแวะเข้ามาทางนี้

จากสะพานนวรัฐมายังถนนท่าแพ เป็นที่ทราบกันดีมาตั้งแต่อดีตว่าบริเวณสองฟากของถนนเป็นย่านร้านค้า ที่อยู่อาศัยของชาวพม่าและชาวต่องสู้ ก่อนในสมัยต่อมาย่านนี้ได้กลายเป็นย่านพ่อค้าชาวจีนตลอดสาย ปัจจุบันเป็นถนนสายสำคัญในด้านการค้า

นอกจากความสำคัญในเชิงการค้าธุรกิจแล้ว บริเวณถนนท่าแพยังมีวัดพม่าที่สร้างขึ้นมาเมื่อหลายร้อยปีจำนวนหลายวัด ซึ่งวัดเหล่านี้มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ สถาปัตยกรรมที่สวยงาม และเพื่อความสะดวกในการเที่ยววัดแก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือนบนถนนเส้นนี้ กระผมเลยจะขอทำการจัดทริปสั้นๆ ในการเที่ยววัดบนถนนท่าแพมาฝากกันครับ โดยจะขอไล่รายนามไปทีละแห่งก็แล้วกัน

C360_2013-09-18-14-16-17-041

C360_2013-09-18-14-12-51-026

วัดอุปคุต หลวงอนุสารสุนทร (ซุ่นฮี้) และแม่นายคำเที่ยง ชุติมา เป็นผู้สร้าง สถาปัตยกรรมประกอบด้วย วิหารแบบล้านนา ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ ศาลาอเนกประสงค์ หอไตรแบบยกพื้นขนาดย่อม มีการตกแต่งลวดลายประดับประดาอย่างสวยงาม ซุ้มประตูโขงขนาดใหญ่ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ วัดนี้มีประเพณีการใส่บาตรพระอุปคุตทุกวันขึ้นสิบห้าค่ำที่ตรงกับวันพุธเรียกว่า “เป็งพุธ” เชื่อว่าหากได้ใส่บาตรกับพระอุปคุตจะได้บุญมาก

C360_2013-09-18-15-09-29-482

C360_2013-09-18-15-07-40-341

วัดแสนฝาง ตำนานกล่าวว่าสร้างในสมัยพญาแสนภู กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เดิมชื่อ วัดแสนฝัง คำว่าแสนฝัง สันนิษฐานว่าอาจมาจาก การที่พญาแสนภูทรงมีพระประสงค์จะฝากฝังขุมพระราชทรัพย์ของพระองค์ไว้ในพระพุทธศาสนาตามเยี่ยงพระเจ้าปู่และพระราชบิดา สถาปัตยกรรมประกอบด้วย หอไตรกลางน้ำหลังเก่า ซุ้มประตู มงคลแสนมหาไชย วิหารทรงล้านนาไทยหลังคาเตี้ยและลาดต่ำ ประดับด้วยลวดลายไม้แกะสลักและปูนปั้นปิดทอง มีเจดีย์ทรงพม่า พระอุโบสถ มีลักษณะรูปทรงเป็นสองชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูนชั้นบนเป็นโครงสร้างไม้ และหอไตรหลังใหม่ อยู่ด้านทางทิศตะวันตกของพระเจดีย์

C360_2013-09-18-14-40-14-758

C360_2013-09-18-14-47-17-781

วัดบุพพาราม เป็นวัดคู่เมืองเชียงใหม่ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย โปรดการสร้างราวปี พ.ศ.2039 ในบริเวณที่เป็นราชอุทยานของพระเจ้าติโลกราช เมื่อนครเชียงใหม่ฟื้นฟูบ้านเมือง เจ้าหลวงเชียงใหม่และอาณาประชาราษฎร์ได้บูรณะวัดให้เจริญรุ่งเรืองสืบมาราวปี พ.ศ.2362 เจ้าหลวงธรรมลังกา โปรดให้สร้างวิหารหลังเล็ก เครื่องไม้ศิลปะล้านนา ส่วนวิหารหลังใหญ่พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์โปรดให้สร้าง ใน พ.ศ.2539 มีการสร้างหอมณเฑียรธรรม เพื่อถวายเป็นราชกุศลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ด้านหลังวิหารยังมีเจดีย์ทรงพม่าอีกหลังหนึ่งที่ควรค่าแก่การชมอย่างยิ่ง

C360_2013-11-10-12-22-01-874

C360_2013-11-10-12-25-37-068

วัดเชตวัน สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อปี พ.ศ.2446 สร้างขึ้นสมัยราชวงศ์มังราย มีนามเหมือนกับวัดเชตวันที่มีในประเทศอินเดีย สถาปัตยกรรมประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ วิหาร เจดีย์ 3 องค์ และพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปะพม่า พระพุทธรูปเชียงแสนทองเหลืองประทับนั่งขัดสมาธิเพชร

C360_2013-11-10-12-32-39-120

C360_2013-11-10-12-33-06-182

วัดมหาวัน ตามความหมายของชื่อแปลว่า ป่าไม้ใหญ่ สถาปัตยกรรมประกอบด้วย เจดีย์แบบพม่า องค์ระฆังประดับลวดลายปูนปั้น ฐานสี่เหลี่ยมย่อมมุมประดับลวดลาย มีซุ้มประจำทิศทั้งสี่ทิศ วิหารทรงพื้นเมืองสร้างราว พ.ศ. 2410 และได้ทำการบูรณะซ่อมแซมในปี พ.ศ.2526 วิหารแบบพม่า อุโบสถทรงพื้นเมืองล้านนา หอไตรสองชั้นเครื่องบนไม้มีหลังคาซ้อนชั้นมีการแกะสลักและลวดลายฉลุสวยงาม

ถือซะว่าเป็นทริปสั้นๆ เอามาฝากกันพอหอมปากหอมคอนะครับ สำหรับนักท่องเที่ยวและผู้ที่ชื่นชอบการเที่ยวชมวัดศิลปกรรมล้านนาผสมพม่าในย่านนี้