วัดหมื่นล้าน

C360_2013-10-02-16-49-05-575

ในขณะที่หลายๆวัด กำลังทำการบูรณะทั้งพระวิหาร พระอุโบสถ จนใหม่เอี่ยมสวยงาม คงไว้ซึ่งความศิลปะอันมีเอกลักษณ์ วัดหมื่นล้านกลับอยู่ในสภาพที่ต้องบอกว่าเก่ากันสุดๆ

500 กว่าปี คือระยะเวลาก้าวผ่านมายังปัจจุบัน งานนี้ไม่เก่าและเก๋าก็ไม่รู้จะพูดกันยังไง เพราะทั้งพระวิหารและศาลากุฏิเก่าโทรมกันซะเหลือเกิน แต่ส่วนอื่นๆ ก็ยังถือว่าใหม่เอี่ยมอ่องกันอยู่

วัดหมื่นล้าน บนถนนราชดำเนิน ในตัวเมืองเชียงใหม่ ถูกสร้างขึ้นในปีมะเส็ง  จ.ศ.822 (พ.ศ.2002) ถึงปีมะเเม จ.ศ.825 (พ.ศ.2005)  ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ผู้ครองบัลลังก์ล้านนาประเทศ ในราชวงศ์มังรายหรือราชวงศ์เม็งราย ผู้สร้างวัดหมื่นล้านคือ “หมื่นโลกสามล้านขุนพลแก้ว” คู่บัลลังก์ของพระเจ้าติโลกราชซึ่งคนส่วนใหญ่รู้จักกันในนามของ “หมื่นด้ง” หรือ “หมื่นด้งนคร” เพื่อเป็นการสร้างกุศลอุทิศแก่แม่ทัพของอยุธยา ที่พ่ายในการทำสงครามจนต้องเสียชีวิตในสนามรบ ตลอดถึงอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ให้แก่บรรดาแม่ทัพนายกกองของล้านนา

C360_2013-10-02-16-55-16-792

ตามหลักฐานบ่งชี้ไว้ว่า ได้มีการจัดหาสถานที่สร้างวัดขึ้นภายในกำแพง เมืองเบื้องบูรพาทิศ ห่างจากประตูเมืองไปยังใจกลางเมือง 100 ขาธนู (1 ขาธนูเท่ากับ 1 วา) คือประมาณ 100 วา ในปีมะเส็ง จ.ศ. 822 ตรงกับ พ.ศ. 2002 ครั้นถึงปีมะแม พ.ศ. 2005 (จ.ศ. 825) จึงได้ทำการเฉลิมฉลองถวายเป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา

C360_2013-10-02-16-46-35-059

C360_2013-10-02-16-45-18-598

สำหรับข้อสันนิฐานของนักประวัติศาสตร์ วัดที่หมื่นโลกสามล้านได้สร้างขึ้นนั้น ได้แก่ “วัดหมื่นสามล้าน” ในปัจจุบัน เพราะการสร้างวัด การขนานนามของวัด นิยมขนานนามของผู้สร้าง เช่น ชีปะขาวยอด ชีปะขาวสวย สร้างวัดขึ้นมาแล้วได้ขนานนามวัดว่า วัดผ้าขาวน้อย วัดผ้าขาวหลวง แม้แต่วัดหมื่นเงินกอง ก็มีเหตุผลเหมือนๆ กัน

C360_2013-10-02-16-49-05-575

ส่วนศาสนสถานในวัด ทั้งเจดีย์และลวดลายหน้าบันของพระวิหารที่มองเห็น ส่วนใหญ่เป็นศิลปะแบบพม่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากในปี พ.ศ. 2460 หรือปีมะเส็ง จ.ศ. 1279 ได้มีคหบดีท่านหนึ่งคือ “หลวงโยนการพิจิตร” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ขุนหลวงโย” ซึ่งเป็นต้นตระกุลอุปโยคิน ได้สละทุนทรัพย์ขึ้นมาทดแทนของเดิมที่หายไป ท่านจึงได้จัดการเจรจาตกลงกับท่านพระครูอนุสรณ์ศีลขันธ์เจ้าอาวาสในขณะนั้น ขอเป็นเจ้าภาพบูรณะเสริมสร้างให้ดีขึ้น พร้อมทั้งขอเป็นเจ้าภาพบูรณะเจดีย์ของวัด เมื่อท่านพระครูตกลงยินยอม ขุนหลวงโยจึงได้จัดการบูรณะเจดีย์ของวัด และสร้างเสริมมุขของวิหารออกมา เพื่อให้บันไดอยู่ในร่ม

C360_2013-10-02-16-51-04-575

C360_2013-10-02-16-50-39-432

ฉะนั้น หน้าปันของมุขวิหารจึงมีลวดลายของพม่าปะปน ที่ได้อย่างชัดเจนคือ รูปนกยูงรำแผนอันเป็นสัญลักษณ์ของศิลปะพม่า ส่วนเจดีย์ไม่ต้องพูดถึง  เพราะเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นศิลปะพม่าโดยตรง ส่วนหอไตร และพระอุโบสถก็ติดอายแบบพม่ามาเช่นกัน แต่สภาพนั้นก็ถือว่าใหม่เอี่ยมกว่าพระวิหารเป็นไหนๆ…