วัดเวฬุวัน

DSCF4370

วัดเวฬุวัน จริงๆ แล้วชื่อวัดแบบนี้ในประเทศไทยมีกันหลายที่เลยนะครับ เรียกได้เป็นชื่อวัดที่ค่อนข้างจะซ้ำกันเยอะพอสมควร

แต่กระนั้นในเรื่องการซ้ำของชื่อ แต่ละวันก็ยังมีเอกลักษณ์และประวัติความเป็นมาแตกต่างกันออกไป ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับวัดเวฬุวัน ในตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

DSCF4365

วัดเวฬุวัน หรือวัดปันเจียง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2451 มีอายุราวๆ 106 ปี เดิมทีมีหลายชื่อด้วยกัน เพราะได้ย้ายไปหลายสถานที่เพื่อให้เหมาะสมแก่การตั้งชื่อวัด ดังที่ส.ท. สิงห์คำ แสงหล้า ได้ฟังคำบอกเล่าจากพ่ออุ้ยน้อยหน้อย แสงหล้า เล่าให้ฟังว่า

DSCF4373

“…จุดเริ่มต้นของวัดเวฬุวันนั้นเริ่มจากสมัยครูบาสมุห์แก้ว คุณธัมโม สมัยนั้นพ่ออุ้ยน้อยหน้อยได้เคยบวชเป็นสามเณรร่วมกับครูบาสมุห์แก้วที่วัดหัวหนอง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในหมู่ 7 ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นได้ย้ายจากวัดหัวหนองมาที่วัดเชียงยืนใต้และวัดปันเจียง ซึ่งเป็นธรณีสงฆ์ของวัดเวฬุวันในปัจจุบัน และได้ย้ายจากวัดปังเจียงมาตั้งวัดใหม่ชื่อ “วัดป่าหนาด” ซึ่งปัจจุบันวัดป่าหนาดอยู่ใน หมู่๒ ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นก็ย้ายมาอยู่ที่วัดเวฬุวันในปัจจุบัน

ส่วนวัดปันเจียงนั้น (ขอเล่าที่มา) ปัจจุบันเป็นธรณีสงฆ์ของวัดเวฬุวัน มีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่เศษ จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่หลายท่านบอกว่า วัดปันเจียงก่อนหน้านี้ประมาณ 100 ปีมาแล้วนั้น เดิมตั้งอยู่ห่างจากธรณีสงฆ์ ไปทางทิศตะวันตก 500 เมตร ชื่อว่าวัด “เชียงยืนใต้” แต่สถานที่ดังกล่าวเป็นลุ่มมักจะมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน จึงได้ย้ายมาหาที่ใหม่ และเมื่อเริ่มทำการก่อสร้างนั้น ชาวบ้านก็ได้ขุดพบเงินเจียงหรือเงินจีนโบราณ จำนวน 1000 เจียง พร้อมทั้งพระเครื่องอีกจำนวนมากฝังอยู่ใต้ดิน ต่อมาเมื่อสร้างวัดเสร็จแล้วจึงให้ชื่อวัดใหม่ว่า “วัดปันเจียง”

DSCF4368

ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 พระยาสุรสีหวิศิษฐ์ศักดิ์ ข้าหลวงพิเศษมณฑลพายัพ ได้ริเริ่มโครงการ ขยายทางเชื่อมจังหวัดเชียงใหม่ – ลำพูน และให้ชาวบ้านปลูกต้นยางไว้ 2 ข้างทาง เพื่อกำหนดเขตอำเภอสารภี ในปีเดียวกันนั้นเอง ครูบาสมุห์แก้ว คุณธัมโม พร้อมด้วยคณะศรัทธาวัดปันเจียงได้ประชุมปรึกษาหารือกันว่าต่อไปวัดแห่งนี้จะอยู่ไกลถนน การคมนาคมที่ไม่สะดวกจะทำให้ยากแก่การพัฒนา จึงมีความคิดเห็นกันว่าให้ออกมาสำรวจหาสถานที่เพื่อก่อสร้างวัดใหม่ ครูบาสมุห์แก้วเห็นว่าการคมนาคมที่สะดวกจะทำให้วัดพัฒนายิ่งขึ้น จึงย้ายวัดมาตั้งที่วัดเวฬุวันในปัจจุบัน ชาวบ้านเมื่อทราบว่าครูบาสมุห์แก้วจะย้ายวัดมาจึงช่วยกันบริจาคที่หลายสิบไร่เพื่อสร้างวัด ในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 และตั้งชื่อว่า “วัดดวงดี” แต่ในเวลาไม่นานพระครูท่านก็พิจารณาว่าภายในวัดมีกอไผ่เกิดขึ้นมากมาย จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่อีกว่า “วัดเวฬุวัน”

DSCF4369

DSCF4371

ตลอดเวลาที่ผ่านมา วัดเวฬุวันได้มีการพัฒนาวัดที่สำคัญอยู่ 3 ช่วงด้วยกัน คือ ช่วงที่ 1 ช่วงเริ่มต้นสร้างวัด ในสมัยของครูบาสมุห์แก้ว คุณธัมโม (เจ้าอาวาสรูปที่1) ช่วงที่ 2 ช่วงบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด และพัฒนาวัดในด้านต่างๆ ในสมัยของครูบาขัตติยะ (ก้อนแก้ว ขัตติโย) เจ้าอาวาสรูปที่ 2 ช่วงที่ 3 ช่วงสืบสานงานด้านพุทธศาสนาซึ่งอยู่ในช่วงปัจจุบันนี้ ในสมัยของหลวงปู่พระครูสัทธา โสภณ (อ้าย โสภณ) เจ้าอาวาสรูปที่ 3