เสพสถาปัตยกรรมที่ “หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่”

DSCF8975

20 บาท กับการจ่ายค่าตั๋วเพื่อมาเที่ยวหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ขอบอกว่าเป็นอะไรที่คุ้มที่สุด เพราะมีหลายอย่างให้ได้ดูได้ศึกษาเยอะมากเยอะชนิดที่ว่ามาเที่ยวครั้งเดียวแบบครึ่งวันยังไม่พอ

อย่างผมมาไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งที่มา ก็มักจะได้อะไรใหม่ๆ กลับไปด้วยเสมอ

ครั้งล่าสุดนี้ผมมาเที่ยวอีกรอบ โดยมีเป้าหมายอย่างอื่นที่ตัวเองอยากเก็บตก และอยากจะเอามาเล่าให้ชาวบ้านฟัง

ปกติจ่ายค่าตั่วเข้าชมเสร็จเราก็จะเพลิดเพลินไปกับการเข้าชมห้องจัดแสดงต่างๆ กันไปทีละห้อง แต่คราวนี้ผมจะพาไปลุยทำความรู้จักส่วนนอกของหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ซึ่งก็คือตัวอาคารหลักนี้นั้นเอง

DSCF8978

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ เดิมเป็นอาคารเก่าแก่ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมอันงดงาม สร้างเมื่อ ปี 2467 เคยใช้เป็นหอคำ ศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ อาคารตั้งอยู่บริเวณสะดือเมืองในอดีตซึ่งเคยเป็นที่ตั้งขอ’เสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง ก่อนที่จะย้ายไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวงเดิมเป็นมรดกตกทอดกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าการวิโรรสสุริยวงศ์ ถึงเจ้าเทพไกรสรพระธิดา ซึ่งเสกสมรสกับเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนที่ 7 ผู้ใช้หอคำซึ่งอยู่ในบริเวณคุ้มกลางเวียงเป็นศูนย์กลางการบริหารนครเชียงใหม่เมื่อเจ้าอิทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัยจึงตกเป็นของเจ้าดารารัศมีพระธิดาต่อมาเมื่อ จัดการปฏิรูป การปกครองตามระบบเทศาภิบาลเจ้าดารารัศมีจึงใช้คุ้มกลางเวียงแห่งนี้เป็น“ศาลารัฐบาล” หรือที่ทำการรัฐบาล

DSCF8974

ต่อมาเมื่อจังหวัดเชียงใหม่ ได้เริ่มใช้ศาลากลางหลังใหม่บนถนนโชตนาเป็นศูนย์ราชการจังหวัด และได้ย้ายหน่วยงาน ออกหมดในปี 2539 อาคารหลังนี้จึงถูกทิ้งร้างไว้โดยไม่มีหน่วยงานใดเข้าไว้ใช้ประโยชน์จนถึงปลายปี 2540 เทศบาล นครเชียงใหม่ได้ขอปรับปรุงอาคารเพื่อใช้เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี2542 ประเภทที่ทำการอาคารสาธารณะจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระราชูปถัมภ์

DSCF8965

DSCF8940

ในส่วนโครงสร้างรูปร่างของตัวอาคารนั้น บางเหลี่ยมมุมก็ให้อารมณ์ในแบบของตะวันตก ซึ่งอันนี้ต้องสังเกตเอาเวลาเดินเที่ยวใน หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ที่บางช่วงมันจะมีที่โล่งให้เราได้เห็นลักษณะของตัวอาคารว่าเป็นอย่างไรบ้าง

สำหรับในช่วงเย็นๆ ไปจนถึงค่ำ ช่วงนี้อาจจะดีหน่อยสำหรับคนชอบถ่ายรูป ที่อยากมาเก็บภาพของตัวอาคารบริเวณด้านหน้าลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์เพราะสีท้องฟ้าค่อนข้างเป็นใจอย่างยิ่ง ภาษาช่างภาพเขาเรียกช่วง “นาทีทอง”

และทั้งหมดที่เอามาฝากกันนี้ คือบางแง่มุมดีๆ ให้ได้มองเวลามาเที่ยวหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่กันครับ