วัดแสนเมืองมาหลวง

C360_2013-10-09-15-52-56-234

ช่วงนี้เห็นหลายวัดพากันบูรณปฏิสังขรณ์กันเพียบเลยครับ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะพากันเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนรึเปล่า แต่เท่าที่คิดประมวลผลจากก้อนสมองอันน้อยนิด คาดว่าคงไม่น่าจะเกี่ยวโยงกัน

วัดแสนเมืองมาหลวง บนถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ ในเขตอำเภอเมือง ก็เป็นอีกหนึ่งวัด ที่เห็นศาสนสถานหลายส่วนกำลังก่อสร้าง ทั้งยังซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่แพ้กับวัดอื่นๆ ในตัวเมืองเชียงใหม่

C360_2013-10-09-15-54-45-774

วัดแสนเมืองมาหลวง หรืออีกชื่อคือ “วัดหัวข่วง” ที่เรียกตามที่ตั้งของวัดคือ ทิศเหนือของข่วง (หัว = ทิศเหนือ, ข่วง =  สนามของเมือง ) แปลรวมๆ ก็คือวัดที่ตั้งอยู่ประตูเมืองด้านเหนือติดกับข่วง (สนามหลวง) และคุ้มของเจ้าเมือง เป็นวัดที่มีความสำคัญ ใช้ประกอบพิธีทางศาสนาของชาวเมืองมาแต่อดีต อย่างประเพณีหลวง หรือบางทีก็ใช้เป็นที่ประชุม ชุมนุมฝึกหัดทหาร ฯลฯ เนื่องจากภายในวัดมีบริเวณกว้าง  ซึ่งแต่เดิมวัดหัวข่วงมีเนื้อที่ 93 ไร่ ในสมัยรัชกาลที่ 7 แต่ปัจจุบันเหลือเนื้อที่แค่ 4 ไร่ 1 งาน 21 ตารางวา

C360_2013-10-09-15-53-32-479

C360_2013-10-09-15-50-34-612

ภายในพื้นที่อาณาเขตดังกล่าวของวัด ประกอบด้วยศาสนสถานอันสำคัญหลายอย่าง อันได้แก่  พระพุทธรูปปูนประธานในพระวิหาร และพระพุทธรูปสำริด หน้าตักกว้าง 1.88 เมตร สูง 2.63 เมตร ที่เป็นพระประธานในอุโบสถ หรือที่ชาวบ้านบางกลุ่มเรียกว่า พระแสนเมืองมาหลวง รวมทั้งในวัดก็ยังมีพระเจดีย์ก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่อีกแห่ง ที่เหลือหลักฐานไว้ให้ศึกษาค้นคว้า

C360_2013-10-09-15-51-44-698

C360_2013-10-09-15-53-19-063

โดยพระเจดีย์วัดแสนเมืองมาหลวง เป็นเจดีย์ก่ออิฐขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นเจดีย์สิบสองเหลี่ยมองค์ระฆังกลม เป็นแบบแผนของเจดีย์ที่นิยมสร้างกันมากในเมืองเชียงใหม่ นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา เป็นศิลปกรรมผสมผสานระหว่างศิลปะเชียงแสนกับสุโขทัย  ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราชต่อพระเจ้าเมืองแก้ว ในยุคนี้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากทั้งทางสุโขทัยและอยุธยา แต่เนื่องจากการที่พม่าตีเมืองเชียงใหม่จึงทำให้เจดีย์ได้รับความเสียหายบางส่วน  เมื่อได้รับการซ่อมแซมแล้ว  ทำให้ส่วนฐานนับตั้งแต่ฐานหน้ากระดานสามชั้นขึ้นไปจนถึงฐานบัวลูกแก้ว เป็นลักษณะพิเศษที่ไม่เคยพบเห็นในเจดีย์ทรงกลม ทั้งแบบพื้นเมืองล้านนาและแบบเชียงใหม่

C360_2013-10-09-15-52-56-234

สำหรับพระพุทธรูปสำริดในอุโบสถ มีขนาดหน้าตักกว้าง 1.88  เมตร สูงทั้งฐาน 2.63 เมตร องค์พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ  เหนือฐานหน้ากระดานเกลี้ยง แสดงปางมารวิชัย ลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้คล้ายคลึงกับ พระพุทธรูปปางมารวิชัยสำริด วัดพวกหงส์ และพระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก โดยพระพุทธรูปองค์นี้ น่าควรจะหล่อขึ้นในระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 20 หรืออย่างช้าราวต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ระหว่างต้นรัชกาลพระเจ้าติโลกราช และจัดเป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนาระยะที่  3

C360_2013-10-09-15-50-18-116

C360_2013-10-09-15-48-06-054

นอกจากศาสนสถานสองอย่างที่กล่าวรายละเอียดไป ในวัดก็ยังอีกหลายๆ อย่างให้ได้เยี่ยมชมกัน ซึ่งคาดว่าหลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ หลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่าง น่าจะแลดูสวยงามขึ้นอย่างแน่นอน