พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

C360_2013-10-02-15-47-06-122

มาเที่ยวหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ตรงกลางเวียงแล้ว ตรงข้ามกันเป็น พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา คืออีกหนึ่งสถานที่ห้ามพลาดในการแวะชมครับ

ก่อนหน้านี้ผมเคยเขียนรีวิวบอกไปแล้ว (ไปหาอ่านเอา) ว่าถ้ามาเที่ยว หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ และพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา มันมีราคาเหมาจ่ายค่าตั๋วแค่ 40 บาท ได้เที่ยวหมดทั้ง 3 ที่ แต่ใครไม่ค่อยมีเวลา เผื่อมีโปรแกรมไปที่อื่น ก็เที่ยวที่ล่ะแห่งเอา ราคาตั๋วก็แค่ 20 บาท เท่านั้น

C360_2013-10-02-15-15-59-322

ผมเลือกช้อยส์แรกแบบเหมาเอา เพราะไม่อยากค้างคา แถมอยากใส่รวดเดียวจบ และพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา เป็นสถานที่สุดท้ายจากทั้ง 3 แห่ง ที่จะเขียนถึง

1

2

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา สถานที่รวบรวมและจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้คนในล้านนา และลักษณะทางศิลปะที่ปรากฏในงานต่างๆ ซึ่งแต่ละส่วนจัดแสดงก็จะมีกันดังต่อไปนี้ครับ

C360_2013-10-02-15-19-08-591

ข่วงแก้วล้านนา นำเสนอต้นความคิดของพุทธสถาปัตยกรรมล้านนา แนวคิดดั้งเดิมในเรื่องการปกปักรักษาโดยจิตวิญญาณต่างๆ ผสมผสานกับพิธีกรรมที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นถึงศิลปะของชาวล้านนาที่เกิดภายใต้ความศรัทธาทางพุทธศาสนา

C360_2013-10-02-15-21-23-190

ภายในวิหาร นำเสนอแบบแผนสถาปัตยกรรมของวิหารล้านนา การสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์อันมีที่มาจากความศรัทธาของชาวล้านนาต่อพุทธศาสนา รูปแบบการตกแต่งเครื่องสักการะอันงดงาม แอบแฝงความหมายทางพุทธิปัญญาของชาวล้านนา

C360_2013-10-02-15-23-33-389

เครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งประดิษฐ์ขึ้นด้วยฝีมือ ลวดลายต่างๆ มีที่มาจากคติความเชื่อที่สัมพันธ์กับเรื่องราวทางศาสนาและความเป็นสิริมงคล

ประติมากรรมในพุทธศาสนา นำเสนองานประติมากรรมประเภทต่างๆ ในสมัยโบราณที่สร้างในล้านนา รวมไปถึงสกุลช่างพื้นบ้านปัจจุบัน ความหลากหลายทางรูปแบบและวัสดุที่ใช้ทั้งปูนปั้น หิน แก้ว ไม้ โลหะ ประติมากรรมลอยตัว นูนสูง และนูนต่ำ ซึ่งมักพบเห็นเป็นส่วนประดับส่วนหนึ่งของอาคารของชาวล้านนา

C360_2013-10-02-15-22-23-236

C360_2013-10-02-15-22-47-175

แห่ครัวทาน ให้ความรู้เรื่องประเพณีแห่ครัวทาน อันเป็นประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศรัทธาในพระพุทธศาสนา และยังสัมพันธ์กับศิลปะอื่นๆ เช่น ฟ้อนแห่ครัวทาน การขับชอ

C360_2013-10-02-15-26-59-259

จิตรกรรมล้านนา นำเสนองานจิตรกรรมฝาผนังของสกุลช่างเชียงใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อิทธิพลทางศิลปะจากอาณาจักรข้างเคียง รวมไปถึงงานจิตรกรรมบนวัสดุต่างๆ โดยเฉพาะการเขียนจิตรกรรมบนกระจก และการเขียนใบลาน การบันทึกองค์ความรู้แขนงต่างๆ ในอดีต เช่น จักรวาลวิทยา การเมืองการปกครอง โหราศาสตร์ วรรณกรรม ตำรายา การสักยันต์

C360_2013-10-02-15-29-23-494

C360_2013-10-02-15-28-29-091

หัตถศิลป์พื้นบ้าน นำเสนอเรื่องเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวล้านนา เน้นที่งานเครื่องเขินและเครื่องปั้นดินเผา รูปทรงและลวดลายตามสกุลช่างต่างๆ อันแสดงถึงความชำนาญของช่างแต่ละท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ สังคม ตลอดจนค่านิยมต่างๆ

C360_2013-10-02-15-39-07-425

C360_2013-10-02-15-41-32-592

C360_2013-10-02-15-38-34-398

จักสานทำมาหากิน นำเสนอประเพณีความคิดความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการทำการเกษตรกรรมของชาวบ้านในล้านนา และเครื่องมือเครื่องใช้จากการจักสาน

ดนตรี วิถีชีวิต แสดงถึงประเพณีแอ่วสาว และเรื่องราวของดนตรีที่มีส่วนสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวล้านนา จนถึงอาหารการกินแบบล้านนา

C360_2013-10-02-15-36-51-987

ผ้าล้านนา งานศิลปะการทอผ้าแบบล้านนาที่มีความสวยงามมีเอกลักษณ์ในรูปแบบและลวดลาย ทั้งยังมีความหลากหลาย สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถทางศิลปะการทอผ้าของชาวล้านนา

C360_2013-10-02-15-44-13-943

ประวัติอาคาร นำเสนอประวัติของอาคารศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่

มหกรรมภัณฑ์ล้านนา นำเสนอเรื่องราวของงานเครื่องสูงของล้านนาที่ใช้ในการสักการบูชาพระธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งทำจากเงิน ทอง แก้ว แหวน และเครื่องประดับต่างๆ เรื่องราวของหัวใจพระเจ้าซึ่งอยู่ภายในพระพุทธรูปทำด้วยเครื่องเงิน ภายในบรรจุอัญมณีต่างๆ รวมถึงลักษณะการบรรจุพระธาตุจำลอง ซึ่งใช้ในพิธีวางฤกษ์แบบโบราณล้านนา

C360_2013-10-02-15-34-29-969

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา วันทำการ คือวันอังคาร – วันอาทิตย์ หยุดกันเฉพาะวันจันทร์ และวันสงกรานต์ (วันหยุดนักขัตฤกษ์ไม่หยุดด้วยนะ) ใครว่างๆ ลองแวะมาเที่ยวเล่นดู ข้างในนี้แอร์เย็นสบายดี นิทรรศการต่างๆ ก็มีเพียบ

20 บาท เมื่อเทียบกับความสนุกจากการเที่ยว ไม่คุ้มก็ไม่รู้จะพูดยังไงแล้ว…