วัดพระเจ้าเม็งราย

C360_2013-10-16-10-28-13-938

วัดในเชียงใหม่ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “พัน” และคำว่า “หมื่น” ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ถูกสร้างมาจากพวกมหาอำมาตย์ และวัดพระเจ้าเม็งราย หากเราดูแต่ชื่อ ก็คงหนีไม่พ้นข้อสันนิษฐานที่บ่งบอกว่า น่าจะถูกสร้างจาก “พญามังราย”

C360_2013-10-16-10-30-54-844

วัดพระเจ้าเม็งราย ตามประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าเป็นพระอารามหลวงแห่งที่สาม ที่พญามังรายทรงสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1839 เดิมชื่อวัด คือ “วัดคานคาด” คงจะเพี้ยนมาจากคำว่า กาละก้อด หรือได้มาจากไม้คานหามพระพุทธรูปมาคาด หรือ กร่อน จนเกือบจะนำมาใช้หามพระพุทธรูปต่อไปอีกไม่ได้ เลยสร้างวัดขึ้นตรงนั้น แล้วตั้งชื่อว่า วัดคาดคอด โดยอดีตพระ อ.การกุย ทูลสนโย เจ้าอาวาส อธิบายว่า วัดพระเจ้าเม็งรายนี้ นอกจากจะเรียกชื่อวัดว่า วัดกาละก้อด แล้ว ยังเรียกชื่อ “วัดศรีสร้อยท้าเจ่ง

C360_2013-10-16-10-32-01-934

C360_2013-10-16-10-32-34-597

วัดแห่งนี้มี พระเจ้าค่าคิงพญามังราย พระพุทธรูปยืนที่ประดิษฐานในวิหารซึ่งถูกสันนิษฐานว่า อาจเป็นพระพุทธรูปที่พญามังราย ได้โปรดให้หล่อถวายไว้ที่เวียงกุมกามก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ โดยเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธรูปดังกล่าว ได้ปรากฏในตำนานเมืองเชียงใหม่ และในพงศาวดารโยนก บอกไว้ว่า

C360_2013-10-16-10-29-37-584

C360_2013-10-16-10-26-22-046

เมื่อพญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่เสร็จแล้ว ได้ยกถวายหอบรรทมของพระองค์ให้ตั้งขึ้นเป็นวัด นามว่า วัดเชียงมั่น และได้อัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ปางลีลาห้ามญาติ เนื้อสัมฤทธิ์ จากเวียงกุมกาม ซึ่งมีขนาดองค์พระใหญ่โตเท่าตัวของพญามังราย ให้มาประดิษฐานไว้ในวัดเชียงมั่นแห่งนี้ ขณะที่หามพระพุทธรูปดังกล่าวนี้ มาถึงบริเวณวัดพระเจ้าเม็งราย ที่เดิมชื่อ วัดคานคอด ที่เพี้ยนมาจากคำว่า ก๋าละก้อต ไม้ที่ใช้หามพระพุทธรูปได้หักคอนลง พญามังรายถือเป็นบุพพนิมิตที่ดี จึงโปรดให้สร้างพระอารามขึ้น เพื่อประดิษฐานพระพุทธรุป ปางลีลาห้ามญาติองค์นี้มาตราบเท่าทุกวันนี้ โดยปัจจุบันชื่อวัดพระเจ้าเม็งราย อยู่ไม่ไกลจากวัดเชียงมั่นมากนัก

C360_2013-10-16-10-30-09-308

นอกจากพระเจ้าค่าคิงพญามังรายแล้ว สิ่งสำคัญภายในวัดก็ยังมี พระพุทธรูปที่จำลองจากพระพุทธสิหิงค์ สร้างโดย “ศรีสัทธัมมะมหาสังฆราช” เมื่อ พ.ศ.2012 ประดิษฐานในพระวิหารใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง 86 เซนติเมตร และยังมีกลุ่มพระพุทธรูปปางมารวิชัยสำริดอีกหลายองค์ เป็นรูปแบบของพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในต้นพุทธศตวรรษที่ 21

อีกศาสนวัตถุ เป็นพระพุทธรูปปางลีลา ประดิษฐานอยู่ในวิหารน้อย ตรงประตูทางเข้า ศิลปะล้านนา สกุลช่างเชียงใหม่ สำริดปิดทองพุทธศตวรรษที่ 21-22 มีพระพุทธรูปแกะสลักด้วยไม้สัก ประทับยืนปางเปิดโลก ลงรัก ปิดทอง สูงเท่าตัวคนอยู่สองข้างของพระพุทธรูปลีลา “ค่าคิงพญามังราย” อายุการสร้างอยู่ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์

C360_2013-10-16-10-28-13-938

C360_2013-10-16-10-27-08-618

สุดท้ายก็จะมีอุโบสถทรงล้านนาขนาดเล็ก และเจดีย์ทรงพื้นเมืองอยู่ด้านหลังวิหารใหญ่ ซึ่งสำหรับใครที่ยังไม่เคยมาเที่ยววัดพระเจ้าเม็งรายแห่งนี้ ขอแนะนำกันเลยว่า ควรจะแวะมาเที่ยวชมกันซักครั้งครับ