วัดเมืองมาง

C360_2013-11-14-12-29-35-359

หลังจากไปกินข้าวมันไก่เพ็ญศรี ตรงถนนราชเสียงแสนมา ขาลับวกเข้าซอยข้างเชียงใหม่นิวส์ สายตาพลันมองไปเห็นวัดเมืองมาง นึกได้ว่าวัดนี้ยังไม่เคยแวะ ว่าแล้วเลยจัดซักหน่อยเผื่อมีอะไรมาฝาก

เข้าไปด้านในก็เช่นเคยครับ วัดเต็มไปด้วยรถราหลายคันจอด คือไอ้ที่จอดนิ ไม่ได้มาทำบุญหรือเที่ยววัดนะครับ แต่จอดไว้แล้วไปทำธุระ ทำงานอย่างอื่นแถวๆ นั้น

จริงๆ แล้วก็เป็นเรื่องปกติที่สำหรับทุกวัดในเชียงใหม่นั้นแหละ เพราะเชียงใหม่อย่างที่ทราบกัน ที่จอดรถมีน้อย การอาศัยพื้นที่วัดในการจอดรถ จึงเป็นเรื่องจำเป็น

C360_2013-11-14-12-28-43-755

C360_2013-11-14-12-40-00-227

วัดเมืองมาง จากประวัติที่สืบค้นได้ว่า สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2225 สมัยนั้นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้นำทัพขึ้นไปตีเมืองยอง  ซึ่งตั้งอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา ภายหลังจากทำศึกชนะแล้ว  ได้กวาดต้อนเอาชาวเมืองยองมาเป็นเชลย และได้มาตั้งหมู่บ้านอยู่ในอาณาเขตเมืองเชียงใหม่ ในขณะนั้นขุนนางผู้หนึ่งชื่อ “หมื่นเพียน” (บางเอกสารว่าชื่อหมื่นเยื่อน) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมดูแลเชลย

C360_2013-11-14-12-31-42-301

ในบรรดาชาวเมืองยองที่ถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลยในคราวนั้น ได้มีชาวบ้านที่มาจากบ้านเมืองมางในแคว้นสิบสองปันนารวมอยู่ด้วย เมื่อมาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ ชาวบ้านได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน ให้ชื่อตามขุนนางผู้ดูแลว่า “วัดหมื่นเพียน” ต่อมาขุนนางชื่อหมื่นเพียนเสียชีวิตลง ประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงวัดก็ยังได้ช่วยกันอุปถัมภ์บำรุงและร่วมกันพัฒนาวัดหมื่นเพียนสืบต่อกันมา

C360_2013-11-14-12-38-44-889

C360_2013-11-14-12-34-42-672

C360_2013-11-14-12-33-28-388

ภายหลังชาวบ้านจึงพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อชุมชนเดิมที่เมืองยอง เป็นการระลึกถึงหมู่บ้านเกิดเมืองนอนเดิมที่เคยอยู่อาศัยในแคว้นสิบสองปันนามาก่อน ที่ได้จากมาอย่างไม่มีวันได้โอกาสหวนกลับคืนไปอีกโดยเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “วัดเมืองมาง” และยังคงใช้ชื่อนี้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

C360_2013-11-14-12-32-34-977

C360_2013-11-14-12-35-20-719

ส่วนศาสนสถานในวัดประกอบด้วยพระอุโบสถทรงไทยล้านนา 1 หลัง มีวิหารทรงไทยล้านนา 1 หลัง มีศาลาการเปรียญทรงไทยแบบมีมุขสามชั้น 1 หลัง มีกุฎิที่พักสงฆ์ 16 หลัง มีศาลาบำเพ็ญกุศล 1 หลัง มีโภชนะศาลา (หอฉัน) 1 หลัง  มีกุฏิห้องพักสำหรับปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 20 ห้อง มีหอพระไตรปิฎกสำหรับบรรจุพระคัมภีร์ต่างๆ 1 หลัง มีปูชนียะวัตถุคือพระเจดีย์ลักษณะรูปทรงล้านนา ประยุกต์ 1 องค์ มีกุฎิอาคันตุกะ 1 หลัง

C360_2013-11-14-12-33-58-797

C360_2013-11-14-12-37-10-855

ดูๆ ไปแล้ววัดแห่งนี้ ถือว่าเงียบพอดูนะครับ แถมยังไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวแว่บผ่านเข้ามาซักคน หนำซ้ำประตูวิหารวัดก็ปิดไม่ให้คนเข้าไป ความเงียบก็ยิ่งเข้าครอบงำไปใหญ่

นี้ถ้าไม่มีพระ ผมนึกว่าวัดร้างที่มีแต่ลานจอดรถกันนะครับ