วัดวุฑฒิราษฏร์

DSCF4505

เส้นทางจากสี่แยกหนองควายมา เพื่อมุ่งหน้าไปยังสะเมิง เส้นทางนี้ค่อนข้างที่จะเต็มไปด้วยความร่มรื่นของป่าไม้ที่เราสัมผัสได้ ซึ่งนอกจากความพิสมัยของวิวสองข้างทางแล้ว แถวนี้ก็มียังมีวัดหลายแห่งให้ได้เลือกมาเที่ยวชม รวมทั้งทำบุญกันอีกด้วย ซึ่งหนึ่งในวัดที่ผมจะขอเสนอนั้น คือ วัดวุฑฒิราษฏร์

DSCF4491

วัดวุฑฒิราษฏร์ เริ่มแรกก่อนที่จะเป็นนั้น เป็นภูเขาขวาง และเป็นเนินลงไป แล้วบริเวณวัดนี้เป็นที่ลุ่ม และได้ทำการปรับปรุง โดยนำชาวบ้านมาถากถางบริเวณที่จะสร้างวัด แล้วสร้างสาสนะสถานขึ้น เดิมชื่อวัดบ้านฟ่อนสันขวาง โดยวัดได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2430 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 21 เดือน พ.ศ. 2494

DSCF4493

DSCF4499

สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวุฑฒิราษฏร์ มีวิหาร โบสถ์ เจดีย์ และของเก่า ซึ่งก็มักมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาถ่ายรูปของโบราณ เจดีย์ และศาลาเก่าๆ ต่างๆ และได้สร้างพระเครื่องให้ผู้เข้ามาบำรุงให้วัดได้บูชาหลายรูปแบบ

DSCF4502

แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่าศาสนสถานและเป็นที่รู้จักของชาวบ้านทั่วไปนั้น คือ หลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก อริยสงฆ์ล้านนาที่มีอายุพรรษามากที่สุด  ทั้งยังมีจิตที่เย็นที่สุดในเชียงใหม่ ล้านนาในยุคสมัยนี้

ครูบาดวงดี ถือเป็นพระนักพัฒนา และยังเป็นหมอยาแผนโบราณ โดยสมัยก่อนท่านทำยาแผนโบราณได้หลายอย่าง โดยท่านทำเองทั้งหมด ตั้งแต่ไปเก็บว่าน สมุนไพรต่างๆในป่า แล้วนำมาคั่วและบดทำเองทุกขั้นตอน รักษาชาวบ้านหายมานักต่อนัก

DD001ภาพจาก watbanfon.com

หลวงปู่ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรมอย่างเคร่งครัด และได้คอยอบรมสั่งสอนพระ เณรและศรัทธาญาติโยมของท่านอยู่มิขาด ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีจริยาวัตรอันงดงาม และเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังรูปหนึ่ง ที่มีศรัทธาญาติโยม มาเคารพสักการบูชา อยู่มิขาดได้ทุกวันโดยมีศรัทธาญาติโยมจากต่างตำบล ต่างอำเภอ ต่างจังหวัดเดินทางมาขอพร และประพรมน้ำพระพุทธมนต์มิได้ขาด หลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก นับเป็นพระผู้มีอริยะคุณอันยอดเยี่ยมยิ่งที่หาได้ยากยิ่งแล้วในปัจจุบัน

ทั้งนี้ วัตถุมงคล ครูบาดวงดี ยติโก ทุกรุ่นล้วนได้รับความนิยม มีคำร่ำลือเรื่องแคล้วคลาดปลอดภัย โดยล่าสุดเมื่อวันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2556 พิธีมหาพุทธาภิเษกวัตถุมงคล รุ่น  บารมีดวงดี 99 ฉลองสิริอายุวัฒนะครบ 99 ปี หลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก  มีเกจิดังมาร่วมงานหลายท่าน เช่น ครูบาออ ครูบาน้อย ครูบาสุข ครูบาบุญตั๋น ครูบาอินถา ครูบาอินตา ฯลฯ