วัดหัวหนอง @เวียงกุมกาม

Camera 360

หนึ่งในเรื่องน่าอเนจอนาจใจ เวลาไปเที่ยวเวียงกุมกาม พอๆ กับการเห็นเยาวชนไทยทำตัวทุเรศ ทำนองมีหัวไว้กั้นหู คือความเงียบเป็นป่าช้าของวัดในเวียงกุมกาม ที่แทบจะหานักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมไม่มีกันเลยซักคน

ไม่ต้องไปนับทัวร์ที่มาลงวัดช้างค้ำอันเป็นจุดสตาร์ทการชมเวียงกุมกาม นับเอาแบบเฉพาะมาเอง ไปเอง จำนวนศูนย์ คือสิ่งที่ผมพบตอนไปเที่ยวคนเดียว เพียวๆ ไม่เกี่ยวกับใคร

C360_2013-09-03-16-03-33-708

จะบอกว่าสถานที่มันไม่ดึงดูดใจพอ หรือจะบอกว่า ก็คนดูแลจัดการเวียงกุมกามไม่มีปัญญา จะกระตุ้นให้อดีตเมืองโบราณจำลองก่อนสร้างนครเชียงใหม่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คึกคักได้ อันนี้มันก็มองได้ทั้งสองแบบ แต่เดี๋ยวก่อนมันเงียบเกินไปมั้ยครับพี่

เงียบจนบางทีผมรู้สึกวังเวง เสียจนนึกว่าตัวเองอยู่ในเมืองนี้คนเดียว หรืออาจจะหลุดเข้ามาในอีกมิติหนึ่งของสมัยก่อนเสียด้วยซ้ำ

C360_2013-09-03-16-01-43-027

เท่าที่พอจะรู้สึกดีขึ้นมาบ้าง ก็ตรงวัดหัวหนองเนี่ยแหละ ที่เจอชาวบ้านสองพ่อลูก มานั่งเล่นตรงศาลา คุยกันประสาคุณพ่อกำลังดูแลไอ้หนูอายุ 4-5 ขวบ

C360_2013-09-03-16-02-28-842

Camera 360

วัดหัวหนอง ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามใกล้กับกำแพงเมืองทางด้านเหนือ ซึ่งหากเรามองจากสภาพภายนอก วัดแห่งนี้ดูจะมีพื้นที่กว้างขวางกว่าวัดอื่นๆ ในเวียงกุมกามครับ เพียงแต่ในความกว้างขวาง ไอ้ที่หลงเหลือยู่ให้ได้ชม ก็แค่ซากปรักหักพังเป็นฐานสูงไม่เท่าไหร่ เหมือนกับวัดอื่นๆ เล็กๆ น้อยๆ ทั่วไป ในย่านนี้ แต่ก็จะมีต่างกันแค่ขนาดพื้นที่ และมีซุ้มประตูโขง เด่นสง่ากว่าใครๆ

Camera 360

C360_2013-09-03-16-07-50-753

ภายในวัดแห่งนี้ จะประกอบไปด้วยซุ้มโขงประตูใหญ่ อุโบสถ มณฑป วิหารและเจดีย์ มีลวดลายปูนปั้นประดับซุ้มประตูวัดเป็นรูปกิเลน สิงห์ หงส์ที่มีความงดงาม แต่สิ่งก่อสร้างที่จัดได้ว่าเด่นที่สุดๆ ก็จะมีกันแค่ 2 แห่ง ของวัดหัวหนอง คือ โขงประตูวัด และเจดีย์ช้างล้อม

Camera 360

C360_2013-09-03-16-02-47-439

โขงประตูวัดหัวหนอง กล่าวได้ว่ามีลักษณะคล้ายๆ ร่วมกันกับวัดในเขตแคว้นล้านนาหลาย ๆ แห่ง โดยเฉพาะวัดที่มีความสำคัญ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นประตูอย่างวัดพระธาตุลำปางหลวง วัดสวนดอก วัดเจ็ดยอด วัดชมพู เป็นต้น อันสามารถกำหนดอายุได้ในช่วงเวลาสมัยเอกราชของแคว้นล้านนา (พ.ศ. 1839-2101)

Camera 360

ส่วนเจดีย์ช้างล้อมนั้น พิจารณาได้ว่าเป็นลักษณะร่วมกับศิลปะสถาปัตยกรรมของแคว้นสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 โดยมีข้อสังเกตประการหนึ่งอยู่ที่ช้างล้อมของวัดหัวหนอง อยู่ในท่าหมอบคู้ขาหน้าที่ไม่เหมือนเจดีย์องค์ใด ยกเว้นเจดีย์วันเวลิ ในประเทศศรีลังกา

C360_2013-09-03-16-08-54-327

นับได้ว่าสถาปัตยกรรมของวัดหัวหนอง มีหลายอย่างให้ได้ศึกษาค้นหากันอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของศิลปะที่บรรจงถ่ายทอดออกมา ซึ่งถือได้ว่าวิจิตรงดงามกันสุดๆ