อาหารพื้นเมืองล้านนา Part 1

page

สิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจนอกจากสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองเชียงใหม่แล้ว ก็ดูจะเป็นอาหารพื้นเมืองล้านนาเนี่ยแหละครับ ที่ตื่นเต้นไม่แพ้กันกับสิ่งอื่นๆ

รสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ ที่มีความอร่อยไม่ซ้ำใคร หากินได้กันแถวนี้ ที่สำคัญมันเป็นต้นตำรับของแท้ ไม่ได้กลายพันธุ์เหมือนที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาคเหนือ

นึกเอาง่ายๆ กินข้าวซอยที่ กทม. กับข้าวซอยที่เชียงใหม่ อย่างไหนให้อารมณ์ร่วมกว่ากัน?

ฉะนั้นแล้วนับตั้งแต่บรรทัดนี้ไป ผมจะพาไปทำความรู้จักกันกับอาหารพื้นเมืองล้านนา ว่าแต่ละอย่างมีอะไรอร่อยๆ เด็ดๆ แนะนำกันบ้าง และจากการคัดสรรโดยทีมงาน (ผมคนเดียวนี่แหละ พูดให้มันดูดีไปงั้น) ก็มีรายนามดังต่อไปนี้

ข้าวซอยเครดิต http://blog.where2.in.th/2013/12/02/5-khao-soi/

ข้าวซอย

ข้าวซอย เป็นอาหารชนิดหนึ่ง ซึ่งมีที่มาจากอาหารของชาวมุสลิม โดยชาวจีนฮ่อมุสลิม ซึ่งบางแห่งเรียกชื่อเต็มว่า ข้าวซอยฮ่อ หรือ ข้าวซอยอิสลาม ดังนั้น ข้าวซอยจึงใช้เนื้อไก่และเนื้อวัวเป็นส่วนผสม รสชาติจะเข้มข้นออกมันๆ ด้วยน้ำแกงข้าวซอย

M7rtd5uTM2SbNWb8เครดิต http://forum.banrasdr.com/showthread.php?tid=97&page=4

ขนมจีนน้ำเงี้ยว

ขนมจีนน้ำเงี้ยว เป็นขนมจีนที่ใส่น้ำยาที่ชื่อ “น้ำเงี้ยว” อันเป็นน้ำแกงที่รับประทานกับขนมจีนหรือเส้นก๋วยเตี๋ยว ถ้าเป็นก๋วยเตี๋ยว เรียกก๋วยเตี๋ยวน้ำเงี้ยว บางสูตรใช้ถั่วเน่าแผ่นย่างไฟ โขลกลงในเครื่องแกง แทนการใส่เต้าเจี้ยว โดยชาวไทใหญ่ หรือเงี้ยว เรียกว่า เข้าเส้นน้ำหมากเขือส้ม

ae3c7b9f34c340a19968e2991e15995eเครดิต http://www.wongnai.com/restaurants/130939bS-%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87/photos/ae3c7b9f34c340a19968e2991e15995e

ลาบหมู

ลาบหมู เป็นอาหารที่นิยมทำกินกันในโอกาสพิเศษหรืองานเลี้ยงหรือในเทศกาลต่างๆ ส่วนประกอบหลักของลาบหมู คือเนื้อหมูสด นำมาสับให้ละเอียดคลุกเคล้ากับเลือดสดและเครื่องในต้มหั่นซอย ปรุงด้วยเครื่องปรุงอันประกอบด้วยพริกแห้งเผา และเครื่องเทศต่างๆ ลาบที่ยังไม่สุก เรียกว่า ลาบดิบ ถ้าต้องการรับประทานแบบสุก ก็นำไปคั่วกับน้ำมันพืชเล็กน้อย หรือไม่ใส่น้ำมันก็ได้ตามชอบ เรียกว่า ลาบคั่ว

1199707719เครดิต http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=myfamily&month=01-2008&date=07&group=3&gblog=5

ลาบปลา

ลาบปลา เป็นอาหารประเภทลาบ ที่มีส่วนประกอบหลัก คือเนื้อปลาต้ม นำมาสับให้ละเอียด ปรุงด้วยเครื่องปรุงอันประกอบด้วยพริกแห้งเผา และเครื่องเทศต่างๆ เช่นเดียวกับลาบชนิดอื่นๆ เครื่องเคียง ได้แก่ ผักสดนานาชนิด โดยเฉพาะประเภทสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมแรง

SH0004-FR001-2เครดิต http://www.postemart.com/shop/detail.php?shop_id=SH0004&&favorite_id=FR001

น้ำพริกหนุ่ม

น้ำพริกหนุ่ม คือพริกสดที่ยังไม่แก่จัด น้ำพริกหนุ่ม เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป มีจำหน่ายแพร่หลายแก่นักท่องเที่ยว นิยมซื้อเป็นของฝาก รับประทานกับแคบหมู บางสูตรใส่ปลาร้าสับ และกะปิห่อใบตองย่างไฟ บางสูตรใส่น้ำปลากับเกลือ แล้วแต่ชอบ

น้ำพริกอ่องเครดิต http://scytheblades.com/?p=292

น้ำพริกอ่อง

น้ำพริกอ่อง นับเป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพอๆ กับน้ำพริกหนุ่ม ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง คือมีสีส้มของสีมะเขือเทศและพริกแห้ง ที่เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อย มีสามรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด เล็กน้อย และรสหวานตาม นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักต้มก็ได้ บางสูตร ผัดหมูก่อนแล้ว จึงตามด้วยเครื่องปรุงและมะเขือเทศภายหลัง บางสูตร โขลกเนื้อหมู เครื่องปรุงและมะเขือเทศให้เข้ากันก่อน จึงนำไปผัดกับน้ำมันพืช บางสูตร ใส่ถั่วเน่าแข็บหรือใส่เต้าเจี้ยว ในการปรุงรส

6815917989_a9921388f8_oเครดิต http://www.eatingthaifood.com/2012/07/thai-nam-prik-chili-sauce/

น้ำพริกตาแดง

น้ำพริกแดง เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้นเหนียว มีส่วนผสมหลักคือ พริกแห้ง ปลาร้า ถั่วเน่าแข็บ ปลาแห้ง บางสูตรไม่นิยมใส่ถั่วเน่าแข็บ และปลาแห้ง

ส้าผัก (2)เครดิต http://www.chiangrai108.com/board/index.php?topic=325.0

ส้าผักรวม

ส้าผักรวม หรือส้าผักแพระ เป็นการนำผักสดหลายๆ ชนิด มายำรวมกัน เป็นผักที่ได้จากป่าแพระ คือป่าโปร่ง เช่น ดอกครั่ง ดอกคราม ผักขี้ติ้ว ผักปู่ย่า ผ้าไคร้เม็ด ผักมองกอง ยอดส้มป่อย ยอดมะม่วง ยอดมะกอก ผักจ้ำ ปัจจุบันนิยมนำผักกาดต้นอ่อน (ผักกาดหน้อย) มาเป็นส่วนผสมด้วย เนื่องจากหาง่ายในท้องตลาด ถ้าใส่มะกอกด้วย จะทำให้รสชาติกลมกล่อมยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่นิยมรับประทานกันในราวเดือนเมษายน -พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงใบไม้ผลิ

ดูแล้วคงท่าจะยาว เพราะมีอีกหลายเมนูให้แนะนำ เอาเป็นว่าไว้มาต่ออีกตอนให้จบครับ