เส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกา

DSCF1304

ใครที่บ่นในทำนองที่บอกว่า “โห อุตส่าห์ดั้นด้นมาตั้งไกลถึงยอดดอยอินทนนท์ แต่มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติตรงยอดดอยให้ดูเพียงนิดเดียว ไม่คุ้มกันเลย” ผมอยากจะบอกว่าก่อนจะพูดประโยคนี้ ขอให้คุณๆ ไปเดินเที่ยวตรงเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติอ่างกา กันก่อนครับแล้วค่อยมาพูดกัน ซึ่งเมื่อหลังจากเที่ยวเสร็จแล้ว คุณๆ จะวิจารณ์กันยังไงต่อ ค่อยหันมาบ่นกับผมอีกรอบ

DSCF1263

ที่ต้องพูดกันเช่นนี้ เพราะผมมั่นใจว่า เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติอ่างกา มีดีพอที่จะเปลี่ยนความคิดคุณ ส่วนจะดียังไงเป็นแบบไหน ตามผมมาดูกันได้เลยครับ

DSCF1266

เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติอ่างกา หรืออ่างกาหลวง เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ตั้งอยู่บนยอดดอยอินทนนท์ มีลักษณะเป็นป่าดิบเขาที่เต็มไปด้วยความชื้นกับละอองน้ำ แถมภายในยังปกคลุมด้วยเมฆที่ลอยพัดผ่านเข้ามาตลอด ซึ่งจากสภาพของป่าดังกล่าว ทำให้เราพบเห็นได้เลยว่าต้นไม้ใหญ่ในบริเวณนั้นจะมีมอสและเฟินขึ้นหุ้มเต็มต้น จนแลดูราวกับป่าในยุคดึกดำบรรพ์

DSCF1341

DSCF1340

DSCF1270

จากจุดเริ่มต้นของการเดินศึกษาธรรมชาตินั้น จะเริ่มตรงที่ “ประตูสู่หิมาลัย” บริเวณที่มีการศึกษาและพบว่าเป็นส่วนหนึ่งของปลายเทือกเขาหิมาลัย โดยจุดเด่นของเส้นทางนี้ ได้แก่ ต้นกุหลาบพันปีขนาดใหญ่ ที่จะบานอวดความงามให้นกมากินน้ำหวานและช่วยผสมเกสรในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ส่วนตามโคนต้นกุหลาบพันปีนั้น จะมีข้าวตอกฤาษีขึ้นปกคลุมราวกับพรมธรรมชาติ (ข้าวตอกฤาษี เป็นมอสชนิดหนึ่งขึ้นอยู่หนาแน่นมีสีเขียวสลับส้มกับสีน้ำตาลอ่อนๆ มอสชนิดนี้จะขึ้นได้เฉพาะที่สูง ความชื้นมาก และอากาศหนาวเย็นเท่านั้น)

DSCF1271

DSCF1276

DSCF1283

DSCF1281

DSCF1278

DSCF1275

หลุดจากตรงนั้นมาซักหน่อยตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระหว่างทางจะมีจุดสื่อความหมายธรรมชาติ เป็นแผ่นป้ายอธิบายในหัวข้อต่างๆ เรื่อยมาไม่ว่าจะเป็น อิงอาศัย วิหคไพร อากาศเฉพาะถิ่น ต้นน้ำปิง คุณค่านิรันดร นี่คือภาพป่าดิบเขาที่สมบูรณ์ พืชกับแสง และรอยอดีต

DSCF1304

DSCF1301

DSCF1299

DSCF1308

DSCF1334

นอกจากเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติอ่างกาที่เราได้เดินสำรวจมาแล้ว ที่นี้ยังเป็นจุดดูนกที่สำคัญ เพราะมีพรุน้ำจืดที่อยู่สูงที่สุดของประเทศ เป็นถิ่นอาศัยของสัตว์เฉพาะถิ่นหายากบางชนิด และเป็นถิ่นอาศัยของนกบนที่สูงจำนวนมาก อาทิ นกศิวะหางสีตาล นกกินปลีหางยาวเขียว นกอีแพรดท้องเหลือง นกมุ่่นรกหัวน้ำตาลแดง นกหางรำดำ นกจับแมลงหน้าผากขาว นกปีกสั้นสีน้ำเงิน นกกะรางหัวแดง ฯ

DSCF1343

ทั้งนี้ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติอ่างกา มีระยะทางรวมประมาณ 300 เมตร ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยวมากที่สุดของที่นี้ คือช่วงหน้าหนาว ส่วนหน้าร้อนนั้น ที่นี้ก็ยังสามารถมาเที่ยวชมได้ เพียงแต่ป่าอาจจะไม่ชุ่มชื่นมากเท่าไหร่นัก