“แม่คะนิ้ง” ความงามอันเย็นยะเยือก

1_originalเครดิตภาพ http://atcloud.com/stories/39514

หนึ่งเรื่องที่ดูจะตื่นเต้นทุกครั้งเวลาใครไปเหยียบดอยอินทนนท์ คงหนีไม่พ้นเรื่อง “แม่คะนิ้ง” ในช่วงหน้าหนาว

ด้วยเหตุที่ประเทศไทยยังไม่เคยมีหิมะตกมาใส่หัวซักครั้ง ดังนั้น “แม่คะนิ้ง” จึงถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นพอๆ กันกับการเจอสัตว์ประหลาดหลุดออกมาจากป่า

และทุกปีที่มี “แม่คะนิ้ง” ดูเหมือนว่าจะเป็นธรรมเนียมไปแล้วสำหรับข่าวแต่ละช่อง หนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ ที่ต้องพากันลงข่าวว่ามันได้มาแล้ว พร้อมภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวประกอบ

ว่าแต่ “แม่คะนิ้ง” มันคืออะไร เราๆ ท่านๆ เข้าใจกันดีขนาดไหนกันเชียว นอกจากเกล็ดน้ำแข็งเกาะตามยอดหญ้าและใบไม้ในช่วงฤดูหนาว กับอุณหภูมิเกือบติดลบ

4เครดิตภาพ http://septimustidbits.blogspot.com/2012/12/2555_12.html

กล่าวกันถึง “แม่คะนิ้ง” หรืออีกชื่อ “เหมยขาบ” ในภาษาพื้นเมืองเหนือ (แม่คะนิ้ง เป็นภาษาพื้นเมืองอีสาน) คือปรากฏการณ์ที่มีเกล็ดน้ำแข็งเล็กๆ เกาะตามยอดหญ้าและใบไม้ในช่วงฤดูหนาว เกิดจากไอน้ำในอากาศที่อยู่ใกล้กับพื้นผิวดินมีอุณหภูมิลดลงจนถึงจุดเยือกแข็ง มักเกิดบนยอดภูเขาสูงในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอากาศหนาวจัด ส่วนมากจะเกิดในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม

a141154-02เครดิตภาพ http://www.phitsanulokhotnews.com/2011/11/14/7013

ลักษณะทั่วไปจะเป็นเกล็ดน้ำแข็งขาวๆ  จับตัวตามใบไม้ ยอดหญ้าหรือวัตถุต่างๆ ใกล้ๆ กับพื้นดิน ซึ่งกระบวนการเกิดปรากฏการณ์การเกิดน้ำค้างแข็งมี 2 แบบด้วยกันคือ การเกิดน้ำค้างแข็งโดยตรง จะเกิดในช่วงที่อุณหภูมิของอากาศใกล้ผิวโลกลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และการเกิดน้ำค้างแข็งโดยอ้อม เกิดเมื่ออุณหภูมิอากาศลดต่ำลงโดยมีปริมาณความชื้นใกล้พื้นดินสูง

1_original (1)เครดิตภาพ http://atcloud.com/stories/39514

ปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจและตื่นเต้นสำหรับนักท่องเที่ยว แต่เอาเข้าจริงแล้วการเกิดแม่คะนิ้งถือว่าสร้างความเสียหายให้แก่พืชผลทางการเกษตร โดยจะทำให้ข้าวที่กำลังออกรวงมีเมล็ดลีบ ส่วนพืชไร่ก็จะชะงักการเจริญเติบโต พืชผักก็จะมีใบหงิกงอ ไหม้เกรียม ส่วน ผลไม้อย่างกล้วย ทุเรียน มะพร้าวก็จะมีใบแห้ง และร่วงลงในที่สุด ซึ่งถ้าหากแม่คะนิ้งเกิดติดต่อกันหลายวัน ก็จะทำความเสียหายแก่พืชที่ปลูกได้มากขึ้น และคนที่จะซวยก็คงหนีไม่พ้น ชาวไร่ ชาวสวน อย่างแน่นอน

a141154-081เครดิตภาพ http://www.phitsanulokhotnews.com/2011/11/14/7013

สำหรับคนที่อยากชมแม่คะนิ้ง ในเมืองไทยปีไหนที่หนาวมากๆ ก็สามารถลุยความหนาวขึ้นไปดูได้ตามยอดดอยในภาคเหนือ และภาคอีสาน เนื่องจากเป็นที่ที่มีอากาศเย็นจัด โดยสถานที่พบเห็นกันบ่อยๆ ก็เชิญที่ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ และ ภูเรือ จ.เลย ส่วนอื่นๆ ที่เหลือมีให้เห็นบางก็เช่น จ.เชียงราย  และ จ.แม่ฮ่องสอน ครับ

ยังไงจะไปดูก็อย่าลืมเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมกันด้วย เพราะสภาพอากาศหนาวระดับหำหดแบบนี้ “ความอบอุ่น” ของร่างกายถือเป็นสิ่งสำคัญ